คำอธิบายของพรรณไม้

 พรรณไม้ : มะม่วง

   ชื่อสามัญ

Mango

   ชื่อวิทยาศาสตร์

Mangifera indica L.

   ชื่อวงศ์

ANACARDIACEAE

   ชื่ออื่น ๆ

บักม่วง, บะม่วง

   ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้ยืนต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 10-30 เมตรลำต้นตรง มีกิ่งก้านแผ่ออกเป็นทรงพุ่มแน่นทึบ ไม่ผลัดใบ มีอายุยืนยาวกว่า 100 ปี
ใบ ใบเดี่ยวเรียงตัวสลับกัน ขอบใบเรียบ โคนใบมน ปลายใบแหลม ใบอ่อนสีออกแดง เมื่อแก่จะเป็นสีเขียว เส้นกลางใบมีสีขาวชัดเจนขนาดใบกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร
ดอก ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งหรือตามตากิ่ง แต่ละช่อจะมีดอกตัวผู้และดอกสมบูรณ์เพศ ดอกมีหลายสี เช่น แดง ชมพู หรือขาว แต่ละดอกมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ และกลีบดอกอีก 5 กลีบ มีกลิ่นหอม
ผล ผลมีความแตกต่างตามพันธุ์ รูปร่างมีตั้งแต่กลมไปจนถึงรูปไข่ค่อนข้างยาว ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางผล 6-8 เซนติเมตร ผลดิบมีสีเขียว เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือเหลืองอมส้ม มีเมล็ดกลางผล 1 เมล็ด

   ถิ่นกำเนิด

มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย

   การขยายพันธ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง การติดตา การเสียบยอด และการทาบกิ่ง 

   การนำไปใช้ประโยชน์

1. ผลรับประทานดิบและสุก 2. ก้านยอดอ่อนหรือยอดอ่อนมีรสเปรี้ยวอมฝาด ใช้รับประทานเป็นผักคู่กับอาหารอื่นๆ 3. เปลือกลำต้นใช้ต้มย้อมผ้า ผ้าที่ย้อมได้สีน้ำตาล 4. เนื้อไม้แปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์หรือเครื่องใช้ รวมถึงใช้เป็นท่อนไม้สำหรับการเพาะเห็ด

   สรรพคุณ

มะม่วงมีแคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก โซเดียม โพแทสเซียม แมกนีเซียม และวิตามินซี มะม่วงสุกอุดมไปด้วยสารเบต้า-แคโรทีนที่ร่างกายสามารถเปลี่ยนเป็นวิตามินเอได้ และทำหน้าที่เป็นแอนติออกซิ-แดนท์ ช่วยต้านอนุมูลซึ่งเป็นสารที่ก่อมะเร็ง ตลอดจนบรรเทาอาการเสียดท้องและช่วยย่อยอาหาร อีกทั้งเป็นยาแก้อาการไอ ละลายเสมหะ แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน ดับกระหาย ขับปัสสาวะ ใบนำมาต้มกับน้ำเปล่านำมาล้างแผลได้ หรือใช้ใบที่ตำละเอียดมาพอกที่แผลจะช่วยทำให้แผลหายเร็วขึ้น


แผนที่แสดงพิกัดของมะม่วงภายในมหาวิทยาลัยจำนวน 13 ต้น