คำอธิบายของพรรณไม้
พรรณไม้ : หลิว
Babylon Willow
Salix babylonica L.
SALICACEAE
หลิวจีน หลิวลู่ลม ลิ้ว หยั่งลิ้ว
ลำต้น ไม้ต้นขนาดเล็กถึงกลาง สูงได้ประมาณ 10-20 เมตร ทรงพุ่มไม่แน่นอน โปร่ง แผ่กว้าง เมื่อมีอายุมากขึ้นผิวเปลือกจะมีร่องต่าง ๆ มีสีเทาเข้มปนน้ำตาล ส่วนเปลือกที่มีอายุน้อยผิวจะเรียบเป็นสีเทาปนเขียว และกิ่งจะมีลักษณะอ่อนทำให้กิ่งห้อยย้อยลงมาเป็นทรงห้อยโอนอ่อนไปกับสายลม
ใบ ใบเดี่ยวเรียงเวียนรอบกิ่ง รูปใบหอกแคบหรือรูปขอบขนาน ยาว 8-16 เซนติเมตร ปลายใบและโคนใบแหลม ส่วนหน้าใบมีสีเขียวเข้ม หลังใบจะมีสีเขียวออกเงิน ขอบใบจะมีรอยจักรแบบฟันเลื่อยแต่ไม่คม
ใบเป็นใบเดี่ยว ลักษณะของใบเป็นรูปใบหอกแคบยาวรี ปลายใบยาวแหลมเรียว โคนใบแหลม ส่วนขอบใบหยักเล็กน้อยหรือเป็นจักละเอียดเกลี้ยง ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-6 นิ้ว และยาวประมาณ 3.5-6.5 นิ้ว หลังใบเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนท้องใบเป็นสีเขียวออกขาวเงิน มีก้านใบยาวประมาณ 6-12 มิลลิเมตร
ดอก ออกเป็นช่อกระจะ เป็นแท่งยาว ดอกแบบแยกเพศ ไม่มีกลีบดอก ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่แยกต้นกัน ดอกตัวผู้จะมีขนาดประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร ส่วนดอกตัวเมียจะมีขนาดประมาณ 5 เซนติเมตร แต่ไม่พบว่าออกดอกในเมืองไทย
ผล
ประเทศจีน
การปักชำและการตอนกิ่ง
1. นิยมนำมาทำเป็นไม้ประดับตกแต่งสวนเพื่อความสวยงาม
2. กิ่งของต้นหลิวสามารถนำใช้เป็นผงถ่านพิเศษหรือกัมมันต์ได้ดี (Activated Charcoal) มีคุณสมบัติในการดูดซับสารพิษเบื้องต้นเพื่อไม่ให้สารพิษหรือสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย หรืออาจนำไปผสมกับยาชนิดอื่นเพื่อประสิทธิภาพในการรักษาอาการของโรคต่าง ๆ เช่น อาการท้องเสีย อาหารไม่ย่อย เป็นต้น
1. ช่อดอกและยอดอ่อนนำมาต้มดื่มเป็นยาลดไข้ แก้ปวด
2. กิ่งแห้งนำมาต้มดื่มบรรเทาอาการปวดตามข้อ ขับปัสสาวะ ขับนิ่ว ขับลม ยาแก้ตับอักเสบ แก้อาการบวมน้ำ รวมทั้งป้องกันโรคตับอักเสบบางชนิด
3. กิ่งและใบสดนำมาต้มดื่มป้องกันโรคตับอักเสบชนิดเอได้
4. กิ่งสด นำมาเผาเป็นถ่านและบดเป็นผงให้ละเอียดผสมกับน้ำมันงาทำเป็นขี้ผึ้ง รักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก
5. กิ่งแห้ง นำมาเผาเป็นถ่านผสมน้ำ รักษาฝีคัณฑสูตร รำมะนาด และไฟลามทุ่ง
6. สาร salicin ที่สกัดได้จากต้นหลิว มีผลในการระงับปวดและลดอาการไข้ ในอดีตมีการนำสารที่ว่านี้มาใช้ทำยา ซึ่งในปัจจุบัน ทางการแพทย์สามารถสังเคราะห์ยาแอสไพรินขึ้นมาได้แล้ว โดยมีคุณสมบัติเหมือนกับสาร salicin ในต้นหลิว