คำอธิบายของพรรณไม้

 พรรณไม้ : พิกุล

   ชื่อสามัญ

Bullet Wood

   ชื่อวิทยาศาสตร์

Mimusops elengi L.

   ชื่อวงศ์

SAPOTACEAE

   ชื่ออื่น ๆ

ตันหยง กุน (ภาคใต้) แก้ว (ภาคเหนือ) ซางดง (ลำปาง) พิกุลเถื่อน (นครศรีธรรมราช) พิกุลป่า (สตูล) พิกุลเขา

   ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 8-15 ม. ทรงพุ่มกลมแน่นทึบ แตกกิ่งจำนวนมาก เปลือกนอกสีน้ำตาลอมเทา มีรอยแตกตามยาวของลำต้น เนื้อไม้ด้านในเป็นไม้เนื้อแข็งสีอมเหลืองอ่อน ๆ
ใบ ใบเรียงเวียนสลับ ใบเดี่ยว รูปรีแกมขอบขนาน กว้าง 2-6 เซนติเมตร ยาว 7-15 เซนติเมตร ปลายใบแหลมเป็นติ่งสั้น ๆ ขอบใบเรียบและเป็นคลื่น
ดอก ดอกเดี่ยวหรือดอกช่อออกเป็นกระจุกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงเรียงเป็น 2 ชั้นๆ ละ 4 กลีบ กลีบดอกสีขาวมี 24 กลีบ เรียงเป็น 2 ชั้น ชั้นในมี 16 กลีบ ชั้นนอกมี 8 กลีบ โคนเชื่อมกันเล็กน้อย มีกลิ่นหอม ดอกบานวันเดียวแล้วโรย เมื่อใกล้โรยกลีบดอกจะเปลี่ยนเป็นเหลืองอมสีน้ำตาล
ผล ผลเดี่ยว รูปไข่ กว้าง 1.0-1.5 เซนติเมตร ยาว 2.5-3.0 เซนติเมตร ปลายแหลม ผิวเรียบ ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีแดงหรือสีแดงอมส้ม เนื้อสีเหลือง รสหวานอมฝาด มีเมล็ดแข็ง แบน รี

   ถิ่นกำเนิด

เอเซียแถบประเทศอินเดีย พม่า มาเลเซีย ไทย

   การขยายพันธ์

ขยายพันธุ์ได้หลายวิธี แต่ที่นิยมคือ การเพาะเมล็ด

   การนำไปใช้ประโยชน์

1. ปลูกเป็นไม้ประดับ ให้ร่มเงา 2. ลำต้นใช้ในการก่อสร้าง ทำโครงเรือเดินทะเล เครื่องมือการเกษตร 3. ผลสุกใช้รับประทานได้ 4. ดอกมีกลิ่นหอมเย็น นิยมนำมาใช้บูชาพระ 5. เปลือกใช้สกัดทำสีย้อมผ้า

   สรรพคุณ

1. เปลือกต้น ต้มอมกลั้วคอ แก้เหงือกอักเสบ 2. เนื้อไม้ที่ราลงมีสีน้ำตาลเข้มประขาว มีกลิ่นหอม เรียกว่า ขอนดอก ใช้บำรุง ตับ ปอด หัวใจ และบำรุงครรภ์ 3. ดอก มีกลิ่นหอมจัดอยู่ในพิกัดเกสรทั้งห้า เข้ายาหอม บำรุงหัวใจ แก้เจ็บคอ น้ำมันหอมระเหยจากดอกใช้ทาแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ 4. เมล็ด ตำให้ละเอียดทำเป็นยาเม็ดสำหรับสวนเวลาท้องผูก