คำอธิบายของพรรณไม้
พรรณไม้ : สัก
TEAK
Tectona grandis L.f.
VERBENACEAE
สักทอง (ทั่วไป), ปีซี, ประยี้, เส่บายี้, เคาะเยียโอ (กะเหรี่ยง)
ลำต้น ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 20–30 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดเป็นทรงพุ่มกลมค่อนข้างทึบ ลำต้นเปลาตรง เปลือกนอกสีเทา หรือสีน้ำตาลอ่อนแกมเทา หนา เรียบหรือแตกเป็นร่องเล็ก ๆ ตามความยาวของลำต้นเปลือกในสีเขียวอ่อน เนื้อไม้มีสีน้ำตาลทองถึงสีน้ำตาลแก่ โคนต้นเป็นพูพอนต่ำ ๆ กิ่งอ่อนเป็นรูปเหลี่ยม
ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ใบรูปรีกว้าง หรือรูปไข่กลับ กว้างประมาณ 12 – 35 เซนติเมตร และยาวประมาณ 15 – 60 เซนติเมตร โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลมเป็นติ่งสั้น พื้นใบด้านบนและด้านล่างสาก ท้องใบเป็นสีเขียวและมีขนปกคลุม
ดอก ดอกแบบช่อแยกแขนงขนาดใหญ่ ออกที่ซอกใบและปลายยอด ดอกย่อยสีขาวนวล มีขนาดเล็ก กลีบดอก 6 กลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด มีขนทั้งด้านนอกและด้านใน เกสรเพศผู้ 5 – 6 อัน ยื่นยาวพ้นออกจากดอก ส่วนเกสรเพศเมียยาวเท่ากับเกสรเพศผู้ ดอกบานวันเดียวแล้วร่วง
ผล ผลแห้ง เป็นกระเปาะ รูปทรงกลมแป้น มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 – 2 เซนติเมตร มีชั้นของกลีบเลี้ยงสีเขียว ลักษณะพองลมและบางหุ้มอยู่ ในผลหนึ่งผลจะมีเมล็ดรูปทรงไข่ อยู่ประมาณ 1 – 4 เมล็ด กว้างประมาณ 0.4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 0.6 เซนติเมตร
ระยะการออกดอกติดผล ออกดอกและติดผลในช่วงเดือนมิถุนายน – เดือนตุลาคม
มีถิ่นกำเนิดจำกัดอยู่เฉพาะแถบเอเชียตอนใต้ พบขึ้นอยู่ตามธรรมชาติในแถบประเทศอินเดีย พม่า ไทย (เฉพาะภาคเหนือ) ลาว (เฉพาะที่อยู่ติดกับไทย) และบางจุดของอินโดนีเซีย
เมล็ด และปักชำ
1. ปลูกเป็นไม้ประดับสถานที่
2. ไม้สักให้เนื้อไม้ทนทาน สวยงาม ลักษณะเนื้อไม้สีเหลืองถึงสีน้ำตาลมักมีเส้นสีแก่แทรกเลื่อยไสกบตกแต่งชักเงาได้ง่ายและดีมาก ใช้ในการก่อสร้างบ้านเรือน ต่อเรือ รถ แกะสลัก เครื่องมือกสิกรรม แมลงไม่ชอบกัดแทะ
1. เนื้อไม้สักหรือแก่น นำมาต้มกับน้ำ ใช้ดื่มขับปัสสาวะ แก้บวมน้ำ บำรุงโลหิต ขับลมในลำไส้ คุมธาตุ ขับพยาธิ แก้ลมในกระดูก
2. ใบ นำมาต้มกับน้ำดื่ม ใช้ลดน้ำตาลในเลือด แก้พิษโลหิต ขับลมแก้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ แก้ประจำเดือนมาไม่ปกติ ขับปัสสาวะ
3. ใบอ่อน นำมาหั่นฝอยตากหรือคั่วให้แห้งนำมาชงกับน้ำร้อนดื่ม ใช้ช่วยลดน้ำหนัก
4. เปลือกไม้ นำมาต้มกับน้ำดื่ม ใช้แก้บวม ปวดศีรษะ ใช้เป็นยาฝาดสมาน