คำอธิบายของพรรณไม้

 พรรณไม้ : เงาะ

   ชื่อสามัญ

Rambutan

   ชื่อวิทยาศาสตร์

Nephelium lappaceum L.

   ชื่อวงศ์

SAPINDACEAE

   ชื่ออื่น ๆ

เงาะป่า (เชียงใหม่,นราธิวาส)/ ผมเงาะ พรวน (ปัตตานี)

   ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูงประมาณ 15-25 ม. ลำต้นจะแตกกิ่งก้านสาขามาก เปลือกสีเทาอมน้ำตาลเข้ม กิ่งเล็กกลมสีน้ำตาลอมแดงคล้ำ มีรอยเหี่ยวละเอียด ทรงพุ่มเป็นรูปครึ่งวงกลมแผ่ออกกว้าง
ใบ ใบรวม มีใบย่อย 2-4 คู่ ก้านใบระหว่างใบย่อยมีขนาดใหญ่ กลม สีน้ำตาลอมแดง ฐานก้านใบหนา รูปร่างใบเป็นรูปโล่ยาวหรือรูปไข่หัวกลับ ขอบใบเรียบสีเขียวอมเหลืองหรือสีนวล เส้นกลางใบขนาดใหญ่ ใต้ใบจะมีคลื่นเล็กน้อย
ดอก ออกช่อที่ปลายยอด เป็นกลุ่มย่อย ช่อดอกมีกิ่ง แขนง ดอกย่อยออกเป็นกลุ่ม ดอกมีสีนวล อ่อน ๆ มี 2 ลักษณะ คือ ช่อดอกตัวผู้ เป็นดอกเงาะที่มีดอกตัวผู้ทั้งช่อดอก และอีกลักษณะ คือ ดอกสมบูรณ์เพศ หรือที่เรียกว่า ดอกกระเทย เป็นดอกที่มีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน
ผล ผลค่อนข้างกลม สีแดง บางพันธุ์สีแดงปนเหลือง ขนาดของผลยาวประมาณ 3.5-8.0 ซม. กว้างประมาณ 2-5 ซม. ขนสั้นยาวขึ้นกับชนิดพันธุ์ แต่โดยทั่วไปยาวเฉลี่ย 0.5-1.8 ซม. เนื้อในใส อ่อนนุ่ม หรือเป็นสีขาวอมเหลือง ห่อหุ้มเมล็ดอยู่

   ถิ่นกำเนิด

ประเทศอินโดนีเซีย และมาเลเซีย

   การขยายพันธ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด, การตอน, การทาบกิ่ง, การติดตา

   การนำไปใช้ประโยชน์

ปลูกเป็นพืชอาหาร, สมุนไพร, พืชใช้เนื้อไม้, พืชให้ร่มเงา,พืชเศรษฐกิจ

   สรรพคุณ

เปลือกผลมีรสฝาด มีสาร แทนนินและอื่น ๆ ใช้เป็นยา เปลือกต้น แก้ท้องร่วง สมานแผล ฝาด สมานพวกที่เป็นโรคลิ้น เปลือกเงาะใช้ เป็นยาขับพยาธิ ใบ เป็นยาพอก ผล แก้บิด แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้ไข้ บำรุงกำลัง และบำรุงร่างกาย เมล็ดทำให้หลับ


แผนที่แสดงพิกัดของเงาะภายในมหาวิทยาลัยจำนวน 1 ต้น