คำอธิบายของพรรณไม้

 พรรณไม้ : โมกบ้าน

   ชื่อสามัญ


   ชื่อวิทยาศาสตร์

Wrightia religiosa Benth. ex Kurz

   ชื่อวงศ์

APOCYNACEAE

   ชื่ออื่น ๆ

โมกซ้อน, โมกลา, โมกบ้าน, หลักป่า, ปิดจงวา

   ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้พุ่ม ลำต้นทรงกระบอก ผิวเรียบ เปลือกสีน้ำตาลดำ มีจุดเล็กๆ สีขาวประทั่วต้น แตกกิ่งก้านสาขาไม่เป็นระเบียบ ทุกส่วนมีน้ำยางสีขาว
ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรีหรือรูปไข่ ปลายแหลมหรือมน โคนมนหรือสอบเข้าหากัน ขอบเรียบไม่มีหยัก เนื้อใบบางสีเขียว
ดอก มีทั้งดอกชั้นเดียวที่เรียกว่า “โมกลา” และดอกซ้อนเรียกว่า “โมกซ้อน” ดอกสีขาว กลีบเลี้ยงสีเขียว โคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็นแฉกแหลม กลีบดอกมี 5-16 กลีบ รูปไข่ โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้นๆ กลางดอกมีเกสรติดกับหลอดกลีบดอก ก้านชูดอกยาวเป็นเส้นคล้ายเส้นด้าย
ผล เป็นฝัก ออกเป็นคู่ ลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกโค้งงอเข้าหากัน เปลือกฝักมีจุดประกระดำกระด่าง เมล็ด จำนวนมาก

   ถิ่นกำเนิด

มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย

   การขยายพันธ์

ตอนกิ่ง เพาะเมล็ด ปักชำ

   การนำไปใช้ประโยชน์

ปลูกในแปลง หรือปลูกในกระถาง ประดับบริเวณบ้านและสวน ดอกมีกลิ่นหอม

   สรรพคุณ

รากเป็นยารักษาโรคผิวหนัง


แผนที่แสดงพิกัดของโมกบ้านภายในมหาวิทยาลัยจำนวน 1 ต้น