คำอธิบายของพรรณไม้

 พรรณไม้ : ลองกอง

   ชื่อสามัญ

Longkong

   ชื่อวิทยาศาสตร์

Lasium parasiticum Corres

   ชื่อวงศ์

MELIACEAE

   ชื่ออื่น ๆ

ลังสาดเขา (นครศรีธรรมราช)

   ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 10-15 ม. ขนาดทรงพุ่ม 6-10 ม. ไม่ผลัดใบ ทรงพุ่มรูปกรวยแผ่กว้าง แน่น เปลือกต้นสีน้ำตาลอ่อน ค่อนข้างเรียบหรือแตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ
ใบ ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงสลับ ใบย่อย 5-7 ใบใบย่อยปลายรูปไข่กลับ ปลายใบ เป็นติ่งแหลม โคนใบมนเบี้ยว ขอบใบเป็นคลื่น แผ่นใบค่อนข้างหนา และเหนียว ย่นเป็นลอน ใบสีเขียวเข้มเป็นมัน
ดอก สีขาวอมเหลือง ออกเป็นช่อแบบช่อเชิงลดที่กิ่งแก่และลำต้น มีทั้งช่อดอกตั้งและช่อดอกห้อย
ผล ผลสดแบบมีเนื้อ ทรงกลมเป็นจุกหรือรูปไข่กลับ สีเขียวเข้ม เมื่อสุกสีน้ำตาลอมเหลืองเมล็ดมีเนื้อสีน้ำผึ้งใส ห่อหุ้มและติดกับแกนกลาง ผล มี 5 กลีบ เมล็ดรูปมนรี สีเหลืองอมเขียว 1-2 เมล็ดต่อผล

   ถิ่นกำเนิด

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในหมู่เกาะชวา เกาะมลายู ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และทางภาคใต้ของประเทศไทย ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com/%e0%b8%a5%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%81%e0%b8%ad%e0%b8%87/ | Medthai

   การขยายพันธ์

การเสียบยอด การทาบกิ่ง การเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง

   การนำไปใช้ประโยชน์

โดยทั่วไปจะนิยมรับประทานเป็นผลไม้สด หรือแปรรูปเป็นเครื่องดื่ม อุดมไปด้วยวิตามินบี และฟอสฟอรัส

   สรรพคุณ

ช่วยขับเสมหะ ลดอาการร้อนในช่องปาก


แผนที่แสดงพิกัดของลองกองภายในมหาวิทยาลัยจำนวน 1 ต้น