คำอธิบายของพรรณไม้

 พรรณไม้ : หมากแดง

   ชื่อสามัญ

Lipstick Palm/Raja Palm/Sealing Wax Palm

   ชื่อวิทยาศาสตร์

Cyrtostachys renda Blume.

   ชื่อวงศ์

ARECACEAE (PALMAE)

   ชื่ออื่น ๆ

กับแดง หรือกะแด็ง (นครศรีธรรมราช), หมากแดง (กรุงเทพฯ), หมากวิง (ปัตตานี) 

   ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น เป็นไม้พุ่ม ขนาดกลางถึงใหญ่ แตกกอ ลำต้นตั้งตรงขนาด 10-15 เซนติเมตร มีคอยาว 30-50 เซนติเมตร ผิวลำต้นเรียบ มีข้อปล้องเห็นได้ชัด
ใบ ใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว เรียงสลับ ใบย่อยรูปขอบขนาน กว้าง 2-5 เซนติเมตร ยาว 45-55 เซนติเมตร มีประมาณ 25 คู่ ทางใบยาว 1.5-2.0 เมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนใบรูปลิ่ม แผ่นใบด้านบนสีเขียวแก่ ด้านล่างสีเขียวอ่อนมีสีเหลืองเงิน เล็กน้อย เป็นมัน กาบใบ ก้านใบและเส้นกลางใบมีสีแดงสด
ดอก สีเขียวอ่อน ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงใต้โคนกาบใบ ห้อยโค้งลง ดอกแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ช่อดอกยาวประมาณ 50 เซนติเมตร
ผล ผลสดแบบมีเนื้อ เมล็ดเดียว ดผลจำนวนมาก ผลทรงกลมถึงรี ขนาด 0.8 เซนติเมตร ผลแก่สีดำเมล็ดกลมรี โคนผลสีแดง ติดผลจำนวนมาก ผลละ 1 เมล็ด

   ถิ่นกำเนิด

ไทย มาเลเซีย บรูไน อินโดนีเซีย

   การขยายพันธ์

ขยายพันธุ์โดยการใช้หัว/เหง้า/หน่อ การเจริญเติบค่อนข้างช้า

   การนำไปใช้ประโยชน์

1. ปลูกเป็นไม้ประดับบ้านเรือน อาคาร สำนักงาน 2. ผลสุกรับประทานได้ มีวิตามินซีสูง

   สรรพคุณ

1. ใบสด แก้ร้อนใน แก้ท้องร่วง เจ็บคอ เจ็บในปาก แก้ปวดหู 2. ผลสุก แก้โรคลักปิดลักเปิด 3. ราก เป็นยาขมเจริญอาหาร บำรุงธาตุ ขับพยาธิ แก้คัน เป็นยาบำรุงกระเพาะอาหาร ใช้ใส่แผลพอก


แผนที่แสดงพิกัดของหมากแดงภายในมหาวิทยาลัยจำนวน 1 ต้น