คำอธิบายของพรรณไม้

 พรรณไม้ : มะพร้าว

   ชื่อสามัญ

Coconut

   ชื่อวิทยาศาสตร์

Cocos nucifera L.

   ชื่อวงศ์

ARECACEAE (PALMAE)

   ชื่ออื่น ๆ

ดุง (จันทบุรี) เฮ็ดดุง (เพชรบูรณ์) โพล (กาญจนบุรี) คอส่า (แม่ฮ่องสอน) พร้าว (นครศรีธรรมราช) หมากอุ๋น

   ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น เป็นไม้ต้น สูง 20-30 เมตร ลำต้นกลม ตั้งตรง ไม่แตกกิ่งก้าน เปลือกต้นแข็ง สีเทา ขรุขระ มีรอยแผล
ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงเวียน รูปพัดจีบ กว้าง 3.5- เซนติเมตร ยาว 80-120 เซนติเมตร โคนใบและปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบสีเขียวแก่เป็นมัน โคนก้านใบใหญ่แผ่เป็นกาบหุ้มลำต้น
ดอก ออกเป็นช่อแขนงตามซอกใบ ดอกเล็ก กลีบดอกที่ลดรูปมี 4-6 อัน ในช่อหนึ่งมีทั้งดอกเพศผู้และเพศเมีย ดอกเพศผู้อยู่ปลายช่อ ดอกเพศเมียอยู่บริเวณโคนช่อดอก ไม่มีก้านดอก
ผล รูปทรงกลมหรือรี ผิวเรียบ ผลอ่อนสีเขียวพอแก่เป็นสีน้ำตาล เปลือกชั้นกลางเป็นเส้นใยนุ่ม ชั้นในแข็งเป็นกะลา ชั้นต่อไปเป็นเนื้อผลสีขาวนุ่ม ข้างในมีน้ำใส

   ถิ่นกำเนิด

เขตร้อนแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้

   การขยายพันธ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะหน่อจากผลสุกแก่ และเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

   การนำไปใช้ประโยชน์

มะพร้าวจัดเป็นพืชเศรษฐกิจอย่างหนึ่ง สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในหลากหลายรูปแบบ ทั้งรับประทานผล ยอดอ่อน และแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำตาลมะพร้าว แป้งมะพร้าว เป็นต้น

   สรรพคุณ

1. น้ำมันมะพร้าว พื้นบ้านของไทยใช้ทาแก้แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก รักษาโรคผิวหนัง กลาก บาดแผลเรื้อรัง แผลสด แผลเน่าเปื่อย แผลที่เกิดจากความเย็นจัด ดับพิษปวดแสบปวดร้อน แก้ผิวหนังด่าง แก้ผิวหนังแตกเป็นขุย อุดฟันแก้ปวดฟัน ป้องกันผมร่วง ช่วยควบคุมน้ำหนัก 2. ราก แก้กำเดา แก้เสมหะ ขับปัสสาวะ แก้อ่อนเพลีย 3. เปลือกต้น ชะล้างบาดแผล สมานแผล ทาแก้หิด ใช้สีฟัน แก้ปวดฟัน 4. น้ำจากผล ช่วยแก้กระหาย เพิ่มความสดชื่น ทดแทนการสูญเสียน้ำ บำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่ง ทำให้กระดูกแข็งแรง ช่วยปรับฮอร์โมนของหญิงวัยหมดประจำเดือนให้สมดุล ป้องกันนิ่ว 5. เนื้อมะพร้าว ปรับสมดุลของน้ำตาลในเลือด


แผนที่แสดงพิกัดของมะพร้าวภายในมหาวิทยาลัยจำนวน 13 ต้น