คำอธิบายของพรรณไม้
พรรณไม้ : ปาล์มสิบสองปันนา
Dwarf date palm
Phoenix loureiroi Kunth.
ARECACEAE (PALMAE)
เป้งดอย (ภาคเหนือ)
ลำต้น ปาล์มลำต้นเดี่ยวขนาดเล็ก ลำต้นสูงได้มากสุดประมาณ 6 เมตร แต่มีจำนวนน้อย ส่วนใหญ่แทบไม่เห็นลำต้น ลำต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 15-25 เซนติเมตร มักจะมีใบเก่า ๆ ที่แห้งและกาบใบปกคลุมหนาแน่นที่โคนต้นมีรากค้ำจุนจำนวนมาก
ใบ ใบ 90-180 เซนติเมตร ใบประกอบแบบขนนก ใบย่อย 35-75 คู่ แข็งเป็นเส้นยาว ปลายแหลม ขนาด 30-1.5 เซนติเมตร ออกเป็นกลุ่มละ กลุ่มละ 2-4 ใบ กระจายในหลายระนาบ ด้านล่างมักมีนวลสีเทาอมเขียว ใบย่อยที่อยู่ด้านล่าง ๆจะเปลี่ยนรูปเป็นหนามคมแข็ง ยาวถึง 12 เซนติเมตร แผ่ก้านที่โคน ใบแตกออกเป็นเส้นใยสีน้ำตาลซึ่งพันสานกันแน่น ไม่มีติ่งหูใบ ( ligule )
ดอก ดอกแยกเพศแยกต้น ช่อดอกตัวผู้ ยาวถึง 30 เซนติเมตร ช่อตั้งตรงแต่แขนงข้างลู่ลง ก้านช่อรวม ยาวถึง 15 เซนติเมตร ช่อดอกตัวเมีย ยาวถึง 75 เซนติเมตร ช่อแผ่กว้างคล้ายไม้กวาด ก้านช่อยาวถึง 50 เซนติเมตร
ผล เป็นกลุ่มยาวถึง 120 เซนติเมตร แกนช่อสีส้มผลยาว 1.7-2.5 เซนติเมตร สีส้ม เวลาสุกสีม่วงอมแดงถึงดำมีเนื้อบาง รับประทานได้
แคว้นสิบสองปันนา พม่า และ
อินเดีย
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดและแยกหน่อ
ปาล์มสิบสองปันนาเหมือนกับปาล์มชนิดอื่นๆ ที่มีคุณสมบัติในการดูดสารพิษในอากาศ
ภายในอาคารได้ดีเยี่ยมโดยเฉพาะสารไซรีน (xylene) และมีการคายความชื้นที่ดี จึงเหมาะอย่างยิ่งที่จะนำมาปลูกเป็นไม้ประดับภายในอาคารสำนักงาน