คำอธิบายของพรรณไม้

 พรรณไม้ : มะม่วงเบา

   ชื่อสามัญ

Mango tree

   ชื่อวิทยาศาสตร์

Mangifera indica L. Var.

   ชื่อวงศ์

ANACARDIACEAE

   ชื่ออื่น ๆ

พาโฮมาแซ (มลายู-ยะลา) ม่วงเบา มะม่วงบ้าน มะม่วงสวน หมักโม่ง หมากม่วง ลูกม่วง (กรุงเทพ)

   ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 5-10 เมตร ขนาด ทรงพุ่ม 3-6 เมตร ไม่ผลัดใบ ทรงพุ่มกลม แตกกิ่งในระดับต่ำ เปลือกต้น สีน้ำตาลอมเหลือง เปลือกเรียบแตกเป็นร่องตื้นตามแนวยาว
ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปรีแกมรูปใบหอก กว้าง 5-7 เซนติเมตร ยาว 15-25 เซนติเมตร ปลายใบติ่งแหลมอ่อนโคนใบแหลม ขอบใบ เรียบเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบบางแต่ค่อนข้างเหนียวและย่นเป็นลอน สีเขียวสดเป็นมันใบอ่อนสีม่วงแดงหรือสีม่วงอมฟ้า ก้านใบยาว 2-4 เซนติเมตร
ดอก ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงที่ปลายกิ่ง สีเขียวอมเหลือง ช่อดอกตั้ง ยาว 20-30 เซนติเมตร กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปไข่ สีเขียวอ่อน เชื่อมติดกับฐานรองดอก กลีบดอก 5 กลีบ รูปขอบขนานหรือรูปไข่กลับ เกสรเพศผู้ 10 อัน เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 0.5-0.7 เซนติเมตร
ผล ผลสดแบบมีเนื้อเมล็ดเดียวทรงกลมแบนฐานผลกว้างแล้วสอบที่ปลายผล ปลายผลมน กว้าง 3.5-4 เซนติเมตร ยาว 4.5-5.5 เซนติเมตร เปลือกผล เรียบเกลี้ยงเป็นมัน สีเขียวสด เมื่อสุกสีเหลืองอมเขียว เมล็ดมีเนื้อนุ่ม ติดกับเปลือกหุ้มเมล็ดหนาแข็ง ผิวมีเส้นใย รสเปรี้ยวอมหวาน เมล็ด คล้ายรูปไต สีน้ำตาลอมเหลืองขนาดใหญ่ ออกดอกติดผลตลอดปี ออกดอกมากเดือน ม.ค.-พ.ค.

   ถิ่นกำเนิด

มาเลเซียและภาคใต้ของไทย

   การขยายพันธ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง ติดตา และทาบกิ่ง 

   การนำไปใช้ประโยชน์

1. ผลดิบ ใช้เป็นอาหารนิยมนำมาแกงส้ม ยำต่างๆ ทำส้มตำ มะม่วงน้ำปลาหวาน หรือแปรรูปในลักษณะแช่อิ่ม 2. ผลสุก มีรสหวานอมเปรี้ยวนิยมนำมารับประทานหรือทำมะม่วงกวน

   สรรพคุณ

1. เปลือกต้น นำมาต้มเอาน้ำดื่ม ช่วยแก้ไข้ตัวร้อน 2. ผลมะม่วง ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใส ช่วยบำรุงและรักษาสายตา ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยแก้อาการบิด ถ่ายเป็นเลือด ช่วยบำรุงกระเพาะอาหาร แก้อาการร้อนใน


แผนที่แสดงพิกัดของมะม่วงเบาภายในมหาวิทยาลัยจำนวน 12 ต้น