คำอธิบายของพรรณไม้
พรรณไม้ : ยางนา
Yang
Dipterocarpus alatus Roxb.
DIPTEROCARPACEAE
ชันนา ยางตัง ทองหลัก ยาง ยางแม่น้ำ ยางขาว ยางควาย
ลำต้น ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบหรือผลัดใบระยะสั้น สูงได้ถึง 50 เมตร ลำต้นเปลาตรง เปลือกต้นสีออกเทาอ่อน เกลี้ยง หลุดลอกออกเป็นชิ้นกลมๆ โคนต้นมักเป็นพูพอน เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ทึบ ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขน และมีรอยแผลใบเห็นชัด
ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้าง 6-14 เซนติเมตร ยาว 12.5-25 เซนติเมตร ใบมีขนปกคลุม ใบด้านท้องใบมีขนรูปดาวสั้นๆ เนื้อใบหนาและเหนียว ย่นเป็นลอน โคนใบมนกว้าง ปลายใบสอบทู่ๆ ขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบอ่อนมีขนสีเทา ใบแก่เกลี้ยงหรือเกือบเกลี้ยง ก้านใบยาว 3-4 เซนติเมตร มีขนประปราย ใบมีหูใบขนาดใหญ่
ดอก ออกรวมกันเป็นช่อสั้นๆ แบบช่อกระจะ ตามง่ามใบตอนปลายกิ่ง ดอกขนาด 4 เซนติเมตร สีชมพูอ่อน ช่อละ 4-5 ดอก ดอกขนาดใหญ่เรียงตัวหลวมๆ เป็นช่อห้อยยาวถึง 12 เซนติเมตร ก้านช่อมีขน กลีบดอกมี 5 กลีบ รูปขอบขนาน ส่วนปลายกลีบมนและบิดเวียน โคนกลีบชิดกัน ชั้นกลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วยมีครีบตามยาว 5 ครีบ ปลายแยกเป็น 5 แฉก มีแฉกยาว 2 แฉก และสั้น 3 แฉก มีขนสั้นๆสีน้ำตาลปกคลุม เกสรเพศผู้มากกว่า 25 อัน ก้านชูอับเรณูสั้น ปลายอับเรณูมีรยางค์รูปเส้นด้าย รังไข่มีขน ก้านเกสรตัวเมียอ้วน และมีร่อง ออกดอกช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายน
ผล เป็นผลแห้งรูปกระสวย มีหลอดกลีบเลี้ยงหุ้มจนมิด ยาว 2-2.5 เซนติเมตร มีปีกขนาดใหญ่ 2 อัน ที่พัฒนามาจากกลีบเลี้ยง สีแดงอมชมพู กว้าง 2-2.5 เซนติเมตร ยาว 11-15 เซนติเมตร เมื่อสุกสีน้ำตาล เส้นปีกตามยาวมี 3 เส้น ปีกสั้น 3 ปีก ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ส่วนกลางผล มีครีบตามยาว 5 ครีบ เส้นผ่านศูนย์กลางผล 2.2-2.8 เซนติเมตร มี 1 เมล็ดต่อผล เมล็ดมีขนสั้นนุ่ม ปลายมีติ่งแหลม ติดผลช่วงเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม
ถิ่นกําเนิด ภาคตะวันออกเฉียงใต ของทวีปเอเชีย
โดยเมล็ด เด็ดปีกออกก่อนนำไปเพาะ
1. ไม้นิยมนำมาใช้ก่อสร้างอาคารบ้านเรือน เช่น ทำเสาบ้าน ทำไม้ระแนง โครงหลังคา ทำพื้น เพดาน ฝาบ้าน รวมถึงสามารถทำเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ได้
2. น้ำมันจากต้นใช้ทาไม้ ยาแนวเรือ ใช้สกัดเป็นน้ำมันไบโอดีเซลโดยน้ำมันที่ได้จะเหมาะใช้กับเครื่องจักรทางการเกษตรขนาดเล็ก 1 สูบ ไม่เกิน 11 แรงม้า เช่น รถไถแบบเดินตาม เครื่องสูบน้ำ เครื่องปั่นไฟ
1. เปลือกของต้นยางนามาต้มดื่มแก้ตับอักเสบ บำรุงร่างกาย ฟอกเลือก บำรุงโลหิต แก้ปวดตามข้อ
2. น้ำมันยาง มีรสร้อน ช่วยห้ามหนองและสมานแผล ใช้ทาแผลเน่าเปลื่อย แผลมีหนอง แผลโรคเรื้อน และผสมกับเมล็ดกุยช่าย คั่วให้เกรียม บดให้และเอียด ใช้อุดฟันแก้ฟันผุ รวมถึงใช้จิบเป็นยาขับเสมหะได้ โดยใช้น้ำมันยาง 1 ส่วน ผสมกับ เอทิลแอลกอฮอล์ 2 ส่วน