คำอธิบายของพรรณไม้

 พรรณไม้ : พะยอม

   ชื่อสามัญ

White - Meranti, Phayom

   ชื่อวิทยาศาสตร์

Shorea roxburghii G.Don

   ชื่อวงศ์

DIPTEROCARPACEAE

   ชื่ออื่น ๆ

กะยอม (เชียงใหม่) ขะยอม (ลาว) ขะยอมดง พะยอมดง (ภาคเหนือ) แดน (เลย) เชียง เซี่ย (เชียงใหม่) สุกรม (ภาคกลาง) พะยอมทอง (ปราจีนบุรี สุราษฎร์ธานี) ยางหยวก (น่าน)

   ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15 - 30 เมตร ผลัดใบ ลำต้นเปลาตรง เรือนยอดเป็นพุ่มกลม เปลือกหนา สีน้ำตาล หรือเทา แตกเป็นร่องตามยาวลำต้น
ใบ ใบเดี่ยวรูปขอบขนานแคบ ๆ ขนาดกว้าง 3.5-4 เซนติเมตร ยาว 8-10 เซนติเมตร โคนใบมน ปลายมนหรือหยักเป็นติ่งสั้น ๆ เนื้อใบเกลี้ยงเป็นมัน
ดอก ดอกสีขาว มีกลิ่นหอมจัด ออกเป็นช่อใหญ่ตามปลายกิ่งหรือเหนือรอยแผลใบ ออกดอกช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์
ผล ผลรูปกระสวยปลายแหลมมีปีกยาว 3 ปีก ปีกสั้น 2 ปีก ติดผลช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม และผลแก่ประมาณเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน

   ถิ่นกำเนิด

ประเทศไทย และเอเชีย เช่น ศรีลังกา พม่า ฟิลิปปินส์ ลาว

   การขยายพันธ์

การเพาะเมล็ด (เด็ดปีกออกก่อนนำไปเพาะ) การตอนกิ่ง

   การนำไปใช้ประโยชน์

เนื้อไม้มีลักษณะคล้ายไม้ตะเคียนทอง ใช้ในการก่อสร้าง เครื่องเรือน

   สรรพคุณ

1. เปลือกมีรสฝาดใช้เป็นยา สมานลำไส้ ใส่เครื่องหมักดองเพื่อกันบูด ใช้ฟอกหนัง 2. ดอกผสมยาแก้ไข้ และยาหอมแก้ ลม บำรุงหัวใจ 3. ชัน ใช้ ผสมน้ำมันทาไม้ ยาเรือ