คำอธิบายของพรรณไม้

 พรรณไม้ : มะเม่าหลวง

   ชื่อสามัญ

Thai Blueberry

   ชื่อวิทยาศาสตร์

Antidesma puncticulatum Miq.

   ชื่อวงศ์

EUPHORBIACEAE

   ชื่ออื่น ๆ

หมากเม่า หรือ มะเม่า,ต้นเม่า,เม่า,หมากเม่าหลวง,มะเม่าหลวง,หมากเม้า,มัดเซ,เม่าเสี้ยน,มะเม่าขน,หมากเม่า,เม่าหลวง,มะเม่าไฟ

   ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น มะเม่า จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ทรงหนาทึบ ความสูงของลำต้นมีตั้งแต่ประมาณ 2-20 เซนติเมตร มีอายุหลายปีลำต้นมีสีเทาแตกเป็นสะเก็ดและจะแตกกิ่งเป็นจำนวนมากตั้งแต่ระดับล่างขึ้นไป ลักษณะกิ่งค่อนข้างเล็ก แต่ใบดก
ใบ เป็นใบเดี่ยวออกแบบเรียงสลับ แผ่นใบรูปไข่หรือรูปรี กว้าง 3.5-4.5 เซนติเมตร ยาว 5-7 เซนติเมตร ปลายใบมน หรือ มีกิ่งแหลมเล็กตามสายพันธุ์ โคนมนกลมถึงหยักเว้า แผ่นใบบางถึงกิ่งหนา ขอบใบเรียบ ผิวใบเกลี้ยง หรือ มีขนเล็กน้อยตามเส้นใบหรือด้านหลังใบ มีเส้นแขนง ใบละ 5-8 เส้น มีก้านใบยาว 0.5-1 เซนติเมตร มีขนประปรายถึงหนาแน่น หูใบรูปลิ่มแคบยาว 4-6 มิลลิเมตร
ดอก ออกเป็นช่อยาว 1-4 เซนติเมตร บริเวณปลายกิ่งหรือตามซอกใบ ปลายยอดมีลักษณะคล้ายช่อดอกพริกไทย บนช่อมีดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก ดอกมีลักษณะสีครีม หรือ สีเขียวเป็นแบบแยกเพศต่างต้นและอยู่ต้นเดียวกัน โดยดอกเพศผู้มีช่อดอกยาว 4-6 เซนติเมตร ส่วนดอกมีขนาด 2-3 มิลลิเมตร ไม่มีกลีบดอก ส่วนดอกเพศเมียยาว 1.5-2 มิลลิเมตร
ผล ผลออกเป็นพวง ยาว 4-7 เซนติเมตร โดยแต่ละพวงจะมีผลเล็กๆ ขนาดค่อนข้างกลม หรือ รี ผิวมีขน มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 มิลลิเมตร ผลอ่อนสีขาว เขียวอ่อน หรือ เขียวเข้ม แล้วแต่สายพันธุ์ ผลอ่อนมีสีแดงคล้ำถึงดำ มีรสหวานอมเปรี้ยวและฝาด ด้านในผลมีเมล็ดขนาดเล็ก 1-2 เมล็ด

   ถิ่นกำเนิด

มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย ทวีปแอฟริกา ทวีปออสเตรเลีย พบตามท้องถิ่นในประเทศไทย

   การขยายพันธ์

การเพาะเมล็ด ชำกิ่ง

   การนำไปใช้ประโยชน์

1. ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ 2. ผลรับประทานได้ มีรสเปรี้ยว โดยรับประทานเป็นผลไม้สดหรือแปรรูปเป็นน้ำผลไม้ ไวน์ แยม น้ำส้มสายชู 3. ลำต้น เนื้อไม้มีลวดลายสวยงาม และมีระดับความแข็งที่พอเหมาะ ช่วยให้แปรรูปได้ง่าย นิยมใช้เพื่อผลิตเป็นเฟอร์นิเจอร์ 4. ผลที่สุกแล้วจะมีสารต้านอนุมูลอิสระสูงมาก ดีต่อการชะลอความเสื่อมของร่างกาย ช่วยบำรุงสายตา ช่วยปรับระบบขับถ่ายให้ดีขึ้น และยังลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคร้ายในระยะยาวด้วย

   สรรพคุณ

1. ผลสุกรับประทานสดหรือนำไปแปรรูปรับประทานช่วยฟอกโลหิต ขับเสมหะ ใช้เป็นยาระบาย บำรุงสายตา 2. เปลือกต้นและรากนำมาต้มน้ำดื่ม ใช้บำรุงกำลัง บำรุงไต แก้กษัยเส้นเอ็นพิการ แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ขับเสมหะ ขับโลหิต ขับน้ำคาวปลา แก้มดลูกพิการ แก้ซางในเด็ก 3. ใบต้มกับน้ำอาบ ใช้แก้โลหิตจาง แก้อาการซีดเหลือง ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดี นำไปอังไฟแล้วนำมาประคบบริเวณที่เป็นแก้อาการฟกช้ำดำเขียว 4. ใบสดมาตำใช้พอกบริเวณที่เป็น รักษาแผลฝีหนองโดยนำ 5. ราก ใช้สำหรับทำยาแก้กษัย ขับปัสสาวะ พร้อมกับปรับสมดุลของสตรีเพื่อลดอาการตกขาว หรือจะใช้เป็นส่วนผสมสำคัญในยาอายุวัฒนะก็ได้