คำอธิบายของพรรณไม้
พรรณไม้ : มะเม่าไข่ปลา
Mak Mao
Antidesma ghaesembilla Gaertn.
EUPHORBIACEAE
เม่าทุ่ง (ชุมพร, สงขลา). มังเม่า (กาญจนบุรี), มะเม่าข้าวเบา (ชุมพร) มะเม่า (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), ขะเม่าผา กูแจ (มลายู – นราธิวาส)
ลำต้น เป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านต่ำเป็นพุ่ม สูงประมาณ 2-6 เมตร เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลอ่อนแตกเป็นสะเก็ดเล็ก ๆ ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสั้นนุ่มสีน้ำตาล
ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับในระนาบเดียวกัน รูปรีค่อนข้างกลม หรือรูปรีแกมขอบขนาน หรือรูปไข่กว้างถึงรี ปลายใบมนกลมหรือเป็นติ่งแหลมเล็กน้อย โคนใบมนกลมถึงหยักเว้า ขอบใบเรียบ ใบกว้างประมาณ 2-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 4-10 เซนติเมตร หลังใบและท้องใบเรียบเกลี้ยง มีขนตามเส้นใบด้านท้องใบ ก้านใบยาวประมาณ 0.2-1.2 เซนติเมตร หูใบเป็นรูปลิ่มแคบ ร่วงง่าย
ดอก ดอกออกเป็นช่อเชิงลด ออกตามซอกใบและปลายยอด ยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร ดอกแยกเพศอยู่ต่างต้นกัน ดอกย่อยมีขนาดเล็กจำนวนมาก มีสีเขียวอมเหลือง ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน
ผล ผลออกเป็นช่อ ช่อผลยาวประมาณ 4-7 เซนติเมตร ผลย่อยมีขนาดเล็ก ค่อนข้างกลมรีหรือแบนเล็กน้อย ผลมีขนาดประมาณ 0.3-0.5 เซนติเมตร ผิวมีขน ผลอ่อนเป็นสีขาว เมื่อแก่จะเป็นสีแดงเข้มเกือบดำ ภายในผลมี 1-2 เมล็ด ติดผลช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม
มีถิ่นกำเนิดและกระจายอยู่ใน
เขตร้อนของอินเดีย แอฟริกา ออสเตรเลีย และหมู่เกาะต่างๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิก
เพาะเมล็ด ชำกิ่ง
1. ปลูกเป็นไม้ประดับ
2. ยอดอ่อน ใบอ่อน มีรสฝาดอมเปรี้ยวและมัน ใช้รับประทานสดเป็นผักเคียง หรือนำมาปรุงอาหาร เช่น แกงเลียง หรือใช้ต้มเป็นผักจิ้ม
3. ผลดิบรสเปรี้ยว ผลสุกรสหวานอมเปรี้ยว
ต้นและราก รสจืดขับปัสสาวะ แก้กษัย บำรุงไต แก้มดลูกพิการ แก้ตาขาว แก้เส้นเอ็นพิการ แก้ปวดเมื่อย ขับโลหิต ขับน้ำคาวปลา