คำอธิบายของพรรณไม้

 พรรณไม้ : มันปู

   ชื่อสามัญ

-

   ชื่อวิทยาศาสตร์

Glochidion wallichianum Muell. Arg.

   ชื่อวงศ์

EUPHORBIACEAE

   ชื่ออื่น ๆ

มันปู ยอดเทะ นกนอนทะเล

   ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น เป็นไม้พุ่มขนาดใหญ่ สูงเต็มที่ประมาณ 15-20 เมตร ปลายกิ่งห้อยลง
ใบ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ 2 ข้างของกิ่งแผ่น ใบเป็นรูปรีหรือรูปรีไข่กลับ ผิวใบเกลี้ยงทั้ง 2 ด้าน ปลายใบแหลม โคนใบสอบ มีเสินแขนง ใบ 5-7 คู่ ใบเสีเขียวสด ยอดอ่อนมีสีแดง
ดอก ดอกเป็นแบบกลุ่ม มีขนาดเล็กมาก สีเขียวอ่อนหรือเหลืองนวล เป็นช่อกระจุกตามซอกใบ มีกลีบเลี้ยง 6 กลีบ ไม่มีกลีบดอก ดอกแยกเพศอยู่ในต้นเดียวกัน ออกตั้งแต่เดือนมีนาคมจนถึงเดือนตุลาคม
ผล ผลแก่เป็นสีชมพูถึงแดง ทรงกลมแป้น กว้าง 1.5-2 เซนติเมตร ยาว 1.2-1.5 เซนติเมตร ภายในผลมี 10-12 พู ผลจะแตกเมื่อแห้ง มี 10-12 เมล็ดต่อผล เมล็ดมีขนาดเล็ก ค่อนข้างกลม มีเยื่อสีแดงหุ้ม ติดที่ปลายของแกนผล

   ถิ่นกำเนิด

เป็นไม้พื้นเมืองประจำถิ่นภาคใต้ของไทย มีพบแพร่กระจายในประเทศอินเดีย ศรีลังกา เวียดนาม มาเลเซีย

   การขยายพันธ์

การขยายพันธุ์ทำได้โดยการเพาะเมล็ด การตอนกิ่งก้านและแยกหน่ออ่อนจากต้นแม่

   การนำไปใช้ประโยชน์

ยอดอ่อน ใช้เป็นผักรับประทาน เป็นผักสดแกล้มกับน้ำพริก หรือรับประทานกับขนมจีน มันปูยอดสีขาว รสมัน อร่อย ถ้ามันปูที่ยอดสีแดง จะมี รสฝาด และมีสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณมาก

   สรรพคุณ

1. รากและลำต้น แก้ร้อนใน เป็นยาบำรุง 2. ใบ ช่วยให้เจริญอาหาร รักษาแผลในกระเพาะลำไส้ 3. ทั้งต้น ต้มแก้ไข้ร้อนเย็น


แผนที่แสดงพิกัดของมันปูภายในมหาวิทยาลัยจำนวน 2 ต้น