คำอธิบายของพรรณไม้
พรรณไม้ : มะขาม
Tamarind
Tamarindus indica L.
FABACEAE
ตะลูบ (ชาวบน นครราชสีมา) ม่องโคล้ง (กะเหรี่ยง กาญจนบุรี) มอดเล ส่ามอเกล (กะเหรี่ยง
แม่ฮ่องสอน) มะขาม (กลาง) หมากแกง (เง้ียว แม่ฮ่องสอน)อ าเปียล (เขมร สุรินทร์
ลำต้น ไม้ต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ สูง 20-25 เมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก เปลือกต้นขรุขระและหนา สีน้ำตาลอ่อนหรือสีเทาดำ
ใบ ใบเรียงสลับ ใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียวปลายคู่ มีใบย่อยขนาดเล็ก 20-40 คู่ ใบย่อยรูปขอบขนาน โคนใบไม่เท่ากัน ปลายใบมนหรือกว้าง ขอบใบเรียบ ผิวใบเรียบลื่น ใบมีสีเขียว ด้านล่างเส้นใบเรียบ
ดอก ดอกเดี่ยวหรือดอกช่อ ออกตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกย่อยขนาดเล็ก ดอกสมบูรณ์ืเพศ กลีบดอกสีเหลืองและมีจุดประสีแดงอยู่กลางดอก กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบขนาดไม่เท่ากัน เมื่อบานเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.0-1.5 เซนติเมตร เกสรตัวผู้ 10 อัน ที่สมบูรณ์มี 3 อัน เกสรตัวเมีย 1 อัน
ผล ผลเป็นฝักยาวหรือโค้ง กว้าง 1.0-2.5 เซนติเมตร ยาว 5-15 เซนติเมตร เปลือกผลหนา เปราะ สีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลอมเทา ผลสดตอนแก่มีสีเขียวเข้ม เมื่อสุกมีสีน้ำตาลเนื้อฉ่ำน้ำ มีรสเปรี้ยว บางพันธุ์อาจหวาน หรือหวานอมเปรี้ยว เมล็ดกลมรี มีสีดำ มี 3-12 เมล็ด
ทวีปแอฟริกาแถบประเทศซูดาน
เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง และทาบกิ่ง
ปลูกเป็นไม้ผล รับประทานได้ ให้ร่มเงา เนื้อไม้ใช้ทำเขียง
1. ราก แก้ท้องร่วง สมานแผล รักษาเริม และงูสวัด
2. เปลือกต้น แก้ไข้ ตัวร้อน
3. แก่น กล่อมเสมหะ และโลหิต ขับโลหิต ขับเสมหะ รักษาฝีในมดลูก รักษาโรคบุรุษ เป็นยาชักมดลูกให้เข้าอู่
4. ใบสด (มีกรดเล็กน้อย) เป็นยาถ่าย ยาระบาย ขับลมในลำไส้ แก้ไอ แก้บิด รักษาหวัด ขับเสมหะ หยอดตารักษาเยื่อตาอักเสบ แก้ตามัว ฟอกโลหิต ขับเหงื่อ ต้มผสมกับสมุนไพรอื่นๆ อาบหลังคลอดช่วยให้สะอาดขึ้น
5. เนื้อหุ้มเมล็ด แก้อาการท้องผูก เป็นยาระบาย ยาถ่าย ขับเสมหะ แก้ไอ กระหายน้ำ เป็นยาสวนล้างท้อง
6. ฝักดิบ ฟอกเลือด และลดความอ้วน เป็นยาระบายและลดอุณหภูมิในร่างกาย บรรเทาอาการไข้
7. เมล็ดในสีขาว เป็นยาถ่ายพยาธิไส้เดือนตัวกลมในลำไส้ พยาธิเส้นด้าย
8. เปลือกเมล็ด แก้ท้องร่วง แก้บิดลมป่วง สมานแผลที่ปาก ที่คอ ที่ลิ้น และตามร่างกาย รักษาแผลสด ถอนพิษและรักษาแผลที่ถูกไฟลวก รักษาแผลเบาหวาน
9. เนื้อในฝักแก่ (มะขามเปียก) รับประทานจิ้มเกลือ แก้ไอ ขับเสมหะ
10. ดอกสด เป็นยาลดความดันโลหิตสูง