คำอธิบายของพรรณไม้
พรรณไม้ : มะคะ
Cynometra ramiflora
FABACEAE
แมงคะ (ตราด), มังคะ, พังคะ (กลาง), พังค่า (ตรัง), มะคาก (ใต้)
ลำต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ สูง 8- 30 เมตร เรือยอดเป็นพุ่มกว้างลำต้นเปลาตรง บางครั้ง มีพูพอน เปลือกสีน้ำตาลเทาขรุขระ เปลือกชั้นในสีน้ำตาล ถึงสีน้ำตาลแกมชมพู
ใบ เป็นใบประกอยแบบขนนกชั้นเดี่ยว เรียงสลับ มีใบย่อย 1-2 คู่ แผ่นใบมีรูปร่างแตกต่างกันมาก รูปคล้าย สี่เหลี่ยมคล้ายข้าวหลามตัด รูปขอบขนาน รูปรี รูปใบหอก ใบย่อยรูปล่างเล็กกว่า ใบย่อยคู่ปลาย มีขนาด 11.5-7 x 3-15 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม สั้น ฐานใบ แหลมเบี้ยว ขอบใบเรียบ ใบเกลี้ยงทั้ง สองด้าน สีเขียวเข้ม ใบอ่อนสีชมพู ก้าน ใบยาว 1.56-5 เซนติเมตร แกนกลางยาว 1.5-7 เซนติเมตร มีขนสั้นนุ่มถึงเกลี้ยง เส้นใบบาง เห็นเด่นชัด ทั้งสองด้าน มี 6-8 คู่
ดอก เป็นช่อกระจะเล็ก ออกตามง่ามใบ ช่อดอกตั้งตรง ก้านช่อดอกยาว 0.7-1.5 เซนติเมตร กลีบเลี้ยง 4 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน สั้นมากปลายตรงกลีบดอกรูปใบหอกแคบๆ ยาว 0.5-0.8 เซนติเมตร สีขาว ออกดอกเดือน ธันวาคม-เมษายน
ผล เป็นฝัก เต่ง รูปไข่ถึงรี ขนาด 1.5-4 x 2-5 เซนติเมตร ผิวสีน้ำตาล ขรุขระ ขอบเป็นคลื่น หรือมีรอยย่นเล็กน้อย ปลายผลมีจะงอย ออกผล เดือน พฤษภาคม-กันยายน
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เพาะเมล็ด
1. ปลูกเป็นไม้ประดับ เนื่องจากทรงต้นสวยงาม
2. ผลสุกใช้รับประทาน