คำอธิบายของพรรณไม้
พรรณไม้ : โสกน้ำ
Asoka Tree
Saraca indica L.
FABACEAE
กาแปะห์ไอย์ (มลายู-ยะลา) ชุมแสงน้ำ (ยะลา) ตะโดลีเต๊าะ (มลายู-ปัตตานี) ส้มสุก (ภาคเหนือ) โสก (ภาคกลาง)
ลำต้น ไม้ต้นขนาดกลาง สูงได้ถึง 20 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดทรงกลมพุ่มทึบ ปลายกิ่งห้อยย้อยลู่ลง เปลือกเรียบสีน้ำตาลเข้มหรือแตกเป็นร่องตื้นตามยาวและขวางลำต้น
ใบ ใบประกอบแบบขนนก ปลายคู่ เรียงสลับ ยาว 10-50 เซนติเมตร ใบย่อย 1-7 คู่ เรียงสลับ ใบรูปรีแกมรูปไข่หรือรูปใบหอก กว้าง 2-10 เซนติเมตร ยาว 5-30 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน รูปลิ่มหรือรูปหัวใจ แผ่นใบหนาและนิ่มสีขาวห้อยย้อยลง เส้นแขนงใบข้างละ 8-10 เส้น ก้านใบย่อยยาว 2-3 มิลลิเมตร
ดอก ดอก สีส้มหรือแดง กลีบเลี้ยงเป็นหลอดเรียวยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร บริเวณปลายแยกเป็น 4 แฉก รูปไข่กลับแกมรูปขอบขนาน ปลายมนสีส้มหรือแดง ไม่มีกลีบดอก เกสรเพศผู้ 6-8 อัน อับเรณูสีม่วง ออกเป็นช่อแบบช่อเชิงหลั่นที่ปลายกิ่ง ไม่มีกลีบดอก ดอกบานเต็มที่กว้าง 1.2-1.5 เซนติเมตร มีกลิ่นหอม ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์
ผล ผล เป็นฝักแห้งแตก รูปขอบขนาน กว้าง 2-6 เซนติเมตร ยาว 6-30 เซนติเมตร ฝักแก่จะแตก 2 ด้าน เมล็ด รูปไข่แบนมี 1-3 เมล็ด ติดผล ช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน
ถิ่นกำเนิด ไทย ลาว ทางใต้ของเวียดนาม และทางแถบหมู่เกาะสุมาตรา
เพาะเมล็ด
1. ใบอ่อนและดอกใช้ประกอบอาหาร ทำแกงส้ม ยำ หรือรับประทานเป็นผักสดจิ้มกับน้ำพริก
2. ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป ปลูกตามวัด ปลูกประดับอาคารสถานที่ ปลูกเป็นร่มเงาตามสวนสาธารณะต่างๆ เพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อม เพราะมีทรงพุ่มสวย และดอกมีสีสันสวยงาม
3. ปลูกเป็นพืชล่อแมลง เช่น ผีเสื้อ เนื่องจากช่อดอกเป็นหลอดคล้ายดอกเข็มทำให้มีน้ำหวานมาก ผีเสื้อจึงมักชอบมากินน้ำหวานจากดอกโสก
1. ดอกโสกมีรสหอมเปรี้ยว มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงธาตุ
2. แพทย์พื้นบ้านในอินเดียจะนิยมใช้เปลือกและราก นำมาปรุงเป็นยาบำรุงโลหิต
3. ดอก ใช้เป็นยาแก้ไอ กินเป็นยาขับเสมหะ