คำอธิบายของพรรณไม้
พรรณไม้ : พะยูง
Siamese Rosewood
Dalbergia cochinchinensis Pierre.
FABACEAE
กระยง กระยุง (เขมร สุรินทร์) ขะยุง (อุบลราชธานี) แดงจีน (ปราจีนบุรี) ประดู่ตม ประดู่น้ำ (จันทรบุรี) ประดู่ลาย (ชลบุรี) ประดู่เสน (ตราด) พะยูงไหม (สระบุรี) หัวลีเมาะ (จีน)
ลำต้น ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ อายุหลายปี สูงประมาณ 15-25 เมตร เรือนยอดกลมหรือรูปไข่ กิ่งก้านมักห้อยลง เปลือกต้นเรียบหรือแตกเป็นแผ่น สีเทาหรือสีน้ำตาลแดง
ใบ ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อย มี 7-9 ใบ รูปไข่แกมรูปขอบขนานหรือรูปใบหอก ปลายแหลม โคนมนหรือสอบ ขอบเรียบ ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้ม ใต้ใบสีซีดกว่า เส้นกลางใบสีเขียวอ่อน
ดอก ดอกออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนง ออกตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกสีขาว ขนาดเล็ก กลีบเลี้ยงรูปถ้วย ปลายแยก 5 แฉก กลีบดอก 5 กลีบ
ผล ผลแบบฝักแห้งไม่แตก รูปขอบขนาน แบนบาง ฝักแก่สีน้ำตาล เมล็ดรูปไต มี 1-4 เมล็ด
ถิ่นกำเนิดในพม่า ลาว และไทย
เพาะเมล็ด
1. นิยมใช้ประโยชน์จากเนื้อไม้ เนื่องจากเนื้อไม้พะยูงมีสีสันสวยงาม จึงมีการนำมาใช้ในการทำเครื่องเรือน เครื่องใช้ แกะสลักสิ่งประดิษฐ์ ไม้ถือและด้ามเครื่องมือ คุณภาพดี ราคาแพง ใช้ทำส่วนต่าง ๆ ของเกวียน กระบะรถยนต์ กระสวยทอผ้า ด้ามหอก คันธนู หน้าไม้ ใช้ทำเครื่องดนตรี เช่น ซอด้วง ซออู้ ขลุ่ย โทน รำมะนา ลูกระนาด
2. ใช้ประโยชน์ในการเลี้ยงครั่ง ไม้พะยูง เป็นไม้ที่เลี้ยงครั่งได้ดีชนิดหนึ่ง โดยให้ผลผลิตสูง ต้นละประมาณ 50 กก. และครั่งที่ได้มีมาตรฐานจัดอยู่ในระดับเกรด A
3. สามารถปลูกเป็นไม้ประดับ
1. ตำรับยาพื้นบ้านอีสานจะใช้เปลือกต้นหรือแก่นพะยูง นำมาผสมกับแก่นสนสามใบ แก่นขี้เหล็ก และแก่นแสมสาร ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้มะเร็ง
2. รากใช้กินเป็นยารักษาอาการไข้พิษเซื่องซึม
3. เปลือกนำมาต้มเอาแต่น้ำ ใช้เป็นยาอมรักษาโรคปากเปื่อย ปากแตกระแหง
4. ยางสดใช้เป็นยาทาปาก รักษาโรคปากเปื่อย เท้าเปื่อย