คำอธิบายของพรรณไม้
พรรณไม้ : จามจุรี
Rain tree
Samanea saman (Jacq.) Merr.
FABACEAE
ก้ามกราม(กลาง)/ ก้ามกุ้ง(กทเมตร,อุตรดิตถ์)/ ก้ามปู(กทเมตร,พิษณุโลก)/ จามจุรี(กทเมตร,ตราด)/ ฉำฉา(กลาง,เหนือ) / ตุ๊ดตู่(ตราด)/ ลัง, สารสา, สำสา(เหนือ)
ลำต้น ม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 15-20 เมตร ผลัดใบเรือนยอดแผ่เป็นพุ่มกว้างคล้ายร่ม โคนต้นเป็นพูพอนต่ำ เปลือกสีน้ำตาลปนเทา แตกตามยาวขรุขระไม่เป็นระเบียบ
ใบ ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ปลายคู่ เรียงสลับ ใบย่อยเรียงตรงข้าม มี 2-10 คู่ ใบรูปไข่รูปรีหรือคล้ายรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน กว้าง 1-2.5 เซนติเมตร ยาว 1.5-5 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบบิดเบี้ยว ผิวในด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างมีขนนุ่ม ขอบใบเรียบ เส้นแขนงใบข้างละ 7-8 เส้น ไม่มีก้านใบ
ดอก ดอกสีเหลืองปนเขียว กลีบเลี้ยง 7-8 กลีบ กลีบดอกโคนเชื่อมติดเป็นถ้วย ปลายแยก 5 แฉกเป็นรูปแตร เกสรเพศผู้จำนวนมาก ยาวโผล่พ้นกลีบดอก สีชมพูอ่อน บริเวณโคนมีสีขาว ดอกออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกแน่น ตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 3 เซนติเมตร ช่อดอกรวมบานเต็มที่กว้าง 5-6 เซนติเมตร ดอกย่อยขนาดเล็ก ออกดอกช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน
ผล ฝักแบนยาวรูปขอบขนาน ตรงหรือโค้งงอเล็กน้อย ขนาดกว้าง 1-2 เซนติเมตร ยาว 15-20 เซนติเมตร ผิวเกลี้ยงและคอดเล็กน้อยในระหว่างเมล็ด ผนังชั้นกลางมีเน้อนิ่ม ฝักแก่สีน้ำตาลดำ เปลือกหนาและแข็ง
ไม่แตกออก เมล็ด แบนรีและโค้งออกท้ังสองด่าน มีสีน้ำตาลเข้มปนดำเป็นมัน กว้าง 6 มิลลิเมตร ยาว 10 มิลลิเมตร ออกผลช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม
อเมริกาเขตร้อนและอเมริกาใต้
เพาะเมล็ด
1. ต้นจามจุรีมีทรงพุ่มกว้างใหญ่ สามารถใช้เป็นร่มเงาสร้างความร่มรื่น
2. กิ่งอ่อนของต้นจามจุรีเป็นอาหารของสัตว์หลายชนิด โดยเฉพาะตัวครั่ง
3. กิ่งอ่อน ฝักหรือใบ ยังใช้เป็นอาหารของ วัว ควาย สุกร แพะ แกะ ฯลฯ
4. ใบของต้นจามจุรี สามารถนำมาหมักทำปุ๋ย เนื่องจากมีแร่ธาตุที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืช โดยนำไปโรยที่บริเวณโคนต้น ช่วยให้พืชหรือต้นไม้ชนิดอื่นๆ สามารถเจริญเติบโตได้ดีขึ้น
5. ฝักแก่ สามารถนำไปหมักเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ฝักแก่ประมาณ 100 กิโลกรัม สามารถนำไปผลิตเป็นแอลกอฮอล์ได้มากกว่า 11 ลิตร
6. เนื้อด้านในฝัก มีรสชาติหอมหวาน สามารถนำไปรับประทานได้ทั้งคนและสัตว์
7. ต้นจามจุรี นิยมนำเนื้อไม้มาแปรรูปใช้ประโยชน์ในการสร้างบ้าน ทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งบ้าน หรือใช้ทำเครื่องไม้เครื่องมือทางการเกษตร
1. เปลือกต้น รสฝาด สมานแผลในปาก คอ แก้โรคเหงือกบวม แก้ปวดฟัน แก้ริดสีดวง
2. ทวารหนัก แก้ท้องร่วง แก้โลหิตตกใน
3. ใบ รสเย็นเมา ทำให้เย็น ดับพิษ แก้ปวดแสบปวดร้อน
4. เมล็ด รสฝาดเมา แก้โรคผิวหนัง กลากเกลื้อน เรื้อน แก้เยื่อตาอักเสบ