คำอธิบายของพรรณไม้
พรรณไม้ : มะขามเทศ
Manila tamarind
Pithecellobium dulce (Roxb.) Benth.
FABACEAE
มะขามข้อง (แพร่)
ลำต้น ไม้ต้น สูง 15 เมตร เปลือกเรียบและมีหนาม ในตำแหน่งรอยก้านใบ (leaf scar) ลำต้นสีเทาแกมขาวหรือเทาดำ
ใบ ใบเรียงสลับ ใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น ใบย่อยรูปไข่กลับหรือรูปรี กว้าง 0.5-2.5 เซนติเมตร ยาว 1.5-4.5 เซนติเมตร โคนใบเบี้ยว ปลายใบมน ขอบใบเรียบ ขอบใบ 2 ข้างโค้งไม่เท่ากัน ผิวใบเรียบถึงมีขนเล็กน้อย ก้านใบอ่อนมีขนปกคลุม โคนก้านใบมีหูใบคล้ายหนาม
ดอก ดอกแบบช่อเกิดที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ สีเขียวแกมขาว ติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉก ปลายกลีบมน เกสรเพศผู้จำนวนมาก ก้านชูอับเรณูเชื่อม ติดกันเป็นหลอด เกสรเพศเมีย 1 อัน
ผล เป็นฝักค่อนข้างแบนถึงทรงกระบอก มีรอยคอดตามแนวสัน และเปลือกนูนตามจำนวนเมล็ด ผลขดเป็นวงหรือเป็นเกลียวกว้าง 1-2 เซนติเมตร ยาว 5-15 เซนติเมตร เนื้อผลเมื่อแก่จัดสีชมพูหรือสีแดง
ทวีปอเมริกากลาง
การเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง และการทาบกิ่ง
1. มะขามเทศเป็นพืชเศรษฐกิจระดับท้องถิ่น เกษตรกรนิยมปลูกมะขามเทศเป็นพืชเสริมรายได้
2. ปลูกเป็นรั้วเพราะมีแนวทรงพุ่มแน่น กิ่งเหนียวมีหนาม พบเห็นได้ตามสถานีรถไฟหลายแห่ง
3. เมื่อมีอายุมากขึ้น เนื้อไม้จะแข็งนําไปใช้ประโยชน์เป็นไม้ใช้สอย และทําฟืน
1. เปลือก หมอพื้นบ้านใช้เปลือกมาต้มน้ำแล้วอมแก้ปากเปื่อย แผลในปาก แก้ปวดฟัน ดื่มแก้ท้องเสีย แก้ท้องร่วง แก้อาเจียน หรือใช้ล้างแผล
2. เปลือกต้มกับน้ำรวมกับเปลือกข่อยและเกลือแกง แล้วนำมาอมแก้ปวดฟัน
3. ราก แก้ท้องร่วง กระชับโลหิต และน้ำเหลือง
4. เนื้อหรือผล ช่วยบำรุงผิวพรรณ เล็บ เส้นผม ช่วยซ่อมแซมเซลล์ร่างกาย ลดระดับคอเลสเตอรอล ปัองกันการอ่อนเพลียร่างกาย นอกจากนี้ยังใช้ฝักแก่จัดนำมาโขลกพอกหน้าได้อีกด้วย
5. ดอกและใบอ่อน ใช้ทำยาย้อมผมหรือยาสระผม เป็นยาย้อมผ้า แห อวน
6. เมล็ดแก่ นำมาคั่วกระเทาะเปลือก กินเป็นยาถ่ายพยาธิในท้องเด็ก