คำอธิบายของพรรณไม้
พรรณไม้ : ราชพฤกษ์
Pudding-pine tree
Cassia fistula L.
FABACEAE
คูน ลมแล้ง ชัยพฤกษ์
ลำต้น ไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 10-15 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ขนาด 4-6 เมตร ลำต้นตั้งตรง เปลือกสีน้ำตาลอมเทาหรือสีนวล มีรอยแตกขนาดใหญ่ กิ่งอ่อนเกลี้ยง เนื้อไม้สีแดงอมเหลือง
ใบ ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ ออกเรียงสลับ มีใบย่อย 3-8 คู่ เรียงตรงข้าม ใบรูปไข่แกมรูปขอบขนานปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบบางเกลี้ยงเป็นมัน
ดอก เป็นช่อแบบช่อกระจะ ออกตามซอกใบหรือปลายกิ่ง ช่อดอกห้อยระย้าลง ดอกสีเหลือง ช่อดอกยาว 20-45 เซนติเมตร กลีบดอกและกลีบเลี้ยงอย่างละ 5 กลีบ รูปไข่เกือบกลม มีก้านกลีบ เกสรเพศผู้ 10 เกสร ยาวไม่เท่ากัน เกสรเพศเมีย รังไข่เหนือวงกลีบ รังไข่และก้านเกสรมีขนดอกบานเต็มที่กว้าง 5-8 เซนติเมตร ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ เริ่มติดดอกช่วงมีนาคม สิ้นสุดระยะติดดอกช่วงเดือนเมษายน
ผล เป็นฝักแห้งรูปทรงกระบอก ผิวเกลี้ยงสีดำ ยาว 20-60 ซม. เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5 – 2.5 ซม.แขวนห้อยลงจากกิ่ง เมล็ด จำนวนมาก รูปแบนมนสีน้ำตาลเป็นมัน มี 1 เมล็ด ใน 1 ช่อง เริ่มติดผลช่วงเดือนมิถุนายน สิ้นสุดระยะติดผลช่วงเดือนกรกฎาคม
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตอนกลาง ทางใต้ของอเมริกา และออสเตรเลียตอนเหนือ
เพาะเมล็ด
1. เนื้อไม้สีแดงแกมเหลือง เสี้ยนสน ค่อนข้างหยาบ แข็ง ทนทานใช้ในการก่อสร้างต่างๆ และเครื่องมือทางการเกษตร เช่น ใช้ทำเสา เสาสะพาน สากตำข้าว ล้อ เกวียน คานเกวียน คันไถ เครื่องกลึง
2. เนื้อไม้และเปลือกใช้ฟอกหนัง
3. ไม้ราชพฤกษ์ใช้ในพิธีลงเสาหลักเมือง
1. ฝัก เป็นยาระบาย บรรเทาอาการแน่นหน้าอก แก้ลม
2. ดอก แก้ไข้ เป็นยาระบาย
3. เปลือกและใบบดผสม ทาฝี และเม็ดตามร่างกาย
4. ใบ ต้มรับประทานเป็นยาระบาย
5. ราก ฝนทารักษา ขี้กลากและเป็นยาระบาย