คำอธิบายของพรรณไม้
พรรณไม้ : กาฬพฤกษ์
Horse cassia
Cassia grandis L. f.
FABACEAE
เปลือกขม กัลปพฤกษ์ยอดแดง
ลำต้น ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง กึ่งผลัดใบ สูง 10-20 เมตร เรือนยอดทรงกลมหรือคล้ายรูปร่มแผ่กว้าง โคนมีพูพอน เปลือกมีสีน้ำตาลเข้มเกือบดำแตกเป็นร่องลึก กิ่งอ่อนหรือช่อดอกมีขนนุ่มสีน้ำตาล
ใบ ใบประกอบรูปขนนกเรียงสลับ ใบย่อย 10-20 คู่ ใบอ่อนสีแดง แผ่นใบย่อยรูปรีแกมรูปขอบขนานกว้าง 1-2 เซนติเมตร ยาว 3-5 เซนติเมตร ปลายใบมนโคนใบเบี้ยวใต้ใบมีขนนุ่ม มีจำนวนใบย่อยมากกว่าชนิดอื่น
ดอก ดอกออกเป็นช่อพร้อมใบอ่อนตามกิ่ง ช่อดอกแบบช่อกระจะ ยาว 10–20 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงและกลีบดอกจำนวนอย่างละ 5 กลีบ รูปไข่กลับ ยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร เกสรเพศผู้ 10 อัน อันยาว 3 อัน ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 3 เซนติเมตร อันสั้น 5 อัน ลดรูป 2 อัน รังไข่มีขนหนานุ่ม ดอกเริ่มบานสีแดงแล้วเปลี่ยนเป็นชมพูตามลำดับ
ผล ผลเป็นฝักรูปทรงกระบอก กว้างประมาณ 3-4 เซนติเมตร ยาว 20-40 เซนติเมตร สีค่อนข้างดำ ผิวมีรอยแตกและมีสันทั้งสองข้างเมล็ดรูปรี รูปไข่ หรือรูปขอบขนานมี 20-40 เมล็ด สีเหลือง มีรสขม และมีกลิ่นเหม็น ฝักมีขนาดใหญ่และสั้นกว่าชนิดอื่น มีสีดำเด่นชัด แตกต่างอย่างชัดเจน
มีถิ่นกำเนิดในแถบเขตร้อนของทวีปอเมริกา และอเมริกาใต้
เพาะเมล็ด และการตอนกิ่ง
1. คนไทยในสมัยโบราณที่นิยมกินหมากจะใช้เนื้อในฝักของกาฬพฤกษ์มาใช้เคี้ยวกับหมาก
2. เปลือกไม้ และเนื้อไม้มีสารที่ให้ความฝาดจึงนิยมนำไปใช้ในการฟอกหนัง
3. ดอกกาฬพฤกษ์มีลักษณะเป็นพวงสีส้มแดงสวยสะดุดตา มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ นิยมนำไปปลูกเป็นไม้ประดับตามอาคารสถานที่ต่าง ๆ เช่น บ้าน สวนสาธารณะ วัด รวมถึงสถานที่ราชการต่าง ๆ
ฝักกาฬพฤกษ์ มีสรรพคุณเป็นยาระบายคล้ายฝักคูน แต่มีฤทธิ์แรงกว่า