คำอธิบายของพรรณไม้

 พรรณไม้ : ชงโค

   ชื่อสามัญ

Purple Orchid Tree

   ชื่อวิทยาศาสตร์

Bauhinia purpurea L.

   ชื่อวงศ์

FABACEAE

   ชื่ออื่น ๆ

ดอกตีนวัว, เสี้ยวหวาน กะเฮอ สะเปซี (แม่ฮ่องสอน), เสี้ยวดอกแดง (ภาคเหนือ), ชงโค เสี้ยวเลื่อย (ภาคใต้)

   ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้ต้นขนาดกลาง ผลัดใบ ลำต้นตั้งตรง ลำต้นสูง 5-15 เมตร แตกกิ่งน้อย เปลือกลำต้นมีสีเทา ผิวเปลือกขรุขระ กิ่งอ่อนมีขนขึ้นปกคลุมประปราย กิ่งแก่เกลี้ยง ไม่มีทรงพุ่มที่แน่นอน
ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปมนเกือบกลม กว้าง 8-10 เซนติเมตร ยาว 10-14 เซนติเมตร ปลายใบแยกเป็น 2 พู โคนใบมนหรือเว้า ขอบเรียบ สีเขียว
ดอก ดอกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง กลีบดอกสีชมพู ถึงม่วงเข้ม รูปหอกยาวปลายแหลม กลีบดอก 5 กลีบแยกจากกัน รูปรีกว้างตรงส่วนกลาง กลีบดอกบาง ขอบหยักเล็กน้อย กลีบเลี้ยงสีเขียว เกสรเพศผู้ 5 เกสร เกสรเพศเมีย 1 เกสรอยู่ตรงกลางดอก รังไข่มีขน ดอกหอมอ่อน ๆ ออกเป็นช่วง ๆ ตลอดปี
ผล ผลเป็นฝักแบน กว้าง 1.5-2.5 เซนติเมตร ยาว 20-25 เซนติเมตร เมื่อแก่แตกเป็นสองซีก เมล็ดกลม มี 10 เมล็ด

   ถิ่นกำเนิด

มีถิ่นกำเนิดทางตอนใต้ของประเทศจีน รวมไปถึงฮ่องกง และทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

   การขยายพันธ์

เพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง ตอนกิ่ง

   การนำไปใช้ประโยชน์

ปลูกเป็นไม้ประดับต้น เพื่อชมดอก และมีทรงพุ่มหนาทำให้เป็นร่มเงาได้เป็นอย่างดี

   สรรพคุณ

1. ใบ นำไปต้มช่วยรักษาอาการไอ ช่วยขับปัสสาวะ 2. ใบชงโคใช้พอกฝี และแผลได้ 3. ดอก ช่วยแก้พิษไข้ร้อนจากเลือดและน้ำดี ช่วยแก้บิด 4. ดอกและราก ใช้เป็นยาระบาย 5. เปลือกต้น ช่วยแก้อาการท้องเสีย ช่วยแก้อาการท้องร่วง ช่วยแก้บิด 6. แก่นและเปลือกต้น ช่วยแก้บิด 7. ราก ช่วยขับลมในกระเพาะ