คำอธิบายของพรรณไม้

 พรรณไม้ : เสลา

   ชื่อสามัญ

Thai Bungor

   ชื่อวิทยาศาสตร์

Lagerstroemia loudonii Teijsm & Binn.

   ชื่อวงศ์

LYTHRACEAE

   ชื่ออื่น ๆ

อินทรชิต (ปราจีนบุรี), เกรียบ ตะเกรียบ (จันทบุรี), ตะแบกขน (นครราชสีมา), เสลาใบใหญ่ (สระบุรี)

   ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้ต้นผลัดใบ สูง 5-15 ม. เรือนยอดกลม ใบดกและกิ่งโน้มลงรอบๆ ทรงพุ่ม เปลือกลำต้นสีดำแตกเป็นร่องเล็กๆ ตามยาวลำต้น ยอดอ่อนมีขนปกคลุมเล็กน้อย
ใบ ใบเรียงตรงข้าม ใบเดี่ยว ใบรูปไข่ รูปรีหรือรูปไข่แกมขอบขนาน ใบกว้าง 4-10 เซนติเมตร ยาว 6-18 เซนติเมตร ก้านใบยาว 5-8 มม.โคนใบมน ปลายใบแหลมหรือมีติ่งเล็กๆ ยาว 1-2 มม. ขอบใบเรียบ ผิวใบมีขนนุ่มปกคลุมทั้งสองด้าน ก้านใบและใบอ่อนมีขนปกคลุมหนาแน่น
ดอก ดอกช่อ cymose เกิดที่ซอกใบหรือปลายกิ่ง มีช่อดอกย่อยจำนวนมาก ช่อละ 3 ดอก โคนก้านช่อดอกย่อยมีใบประดับ 1 อัน รูปคล้ายใบ ดอกกลางบานก่อน กลีบเลี้ยงมี 6-7 กลีบ สีเขียวหรือแกมน้ำตาล กลีบดอกมี 6-7 กลีบ สีม่วง เมื่อจะร่วงเป็นสีขาว กลีบดอกแยกกัน รูปไข่กลับหรือค่อนข้างกลม กลีบเรียงตัวบนขอบถ้วยสลับกับกลีบเลี้ยง เกสรเพศผู้จำนวนมาก perigynous ขนาดไม่เท่ากัน เกสรเพศเมีย 1 อัน
ผล ผลแห้งแบบแคปซูล รูปไข่ ปลายแหลมผิวมีขนละเอียด กว้าง 8-12 มิลลิเมตร ยาว 12-15 มิลลิเมตร เมล็ดจำนวนมาก มีปีกบางๆรูปโค้ง คล้ายเคียว มีสีน้ำตาล

   ถิ่นกำเนิด

ภูมิภาคอินโดจีน พม่าและไทย

   การขยายพันธ์

ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด

   การนำไปใช้ประโยชน์

1. นิยมปลูกไว้เพื่อประดับตกแต่งสวน ช่วยสร้างร่มเงา สร้างความร่มรื่นให้กับบริเวณโดยรอบ 2. เนื้อไม้มาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เนื่องจากมีความแข็งแรงในระดับหนึ่ง นิยมนำมาทำเป็นเครื่องไม้เครื่องมือ ทำพื้น ตง รอด หรือใช้ทำเป็นไม้แกะสลักให้ดูสวยงาม

   สรรพคุณ

1. เปลือกตากแห้งนำมาต้มดื่มมีสรรพคุณช่วยสมานแผล และแก้อาการท้องเสีย 2. เปลือกนำไปบดเป็นผงละเอียดนำมาโรยตรงแผล ช่วยบรรเทาอาการแผลอักเสบ