คำอธิบายของพรรณไม้
พรรณไม้ : ตะแบก
Bungor
Lagerstroemia floribund Jack.
LYTHRACEAE
กระแบก (สงขลา), ตราแบกปรี้ (เขมร), ตะแบกไข่ (ราชบุรี, ตราด), ตะแบกนา ตะแบก (ภาคกลาง, นครราชสีมา), บางอตะมะกอ (มลายู-ยะลา, ปัตตานี), บางอยะมู (มลายู-นราธิวาส), เปื๋อยนา (ลำปาง), เปื๋อยหางค่าง (แพร่)
ลำต้น ไม้ต้น ผลัดใบ สูง 15-30 เมตร เปลือกเรียบ เป็นมัน สีเทาอมขาว แตกร่อนเป็นหลุมตื้นๆ
ใบ ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามหรือเกือบตรงข้าม รูปรี รูปขอบขนาน หรือรูปใบหอก กว้าง 5-7 เซนติเมตร ยาว 12-20 เซนติเมตร ปลายมนหรือเป็นติ่งแหลม โคนรูปลิ่มหรือมน ใบอ่อนมีขนรูปดาว
ดอก ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกตามปลายกิ่ง ดอกสีม่วงอมชมพู แล้วเปลี่ยนเป็นสีขาว กลีบดอก 6 กลีบ เกสรเพศผู้จำนวนมาก รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ มีขน
ผล ผลแบบผลแห้งแตก รูปรี ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร เมล็ดขนาดเล็ก มีปีก
เอเชียตะวันออกเฉียงใต
เพาะเมล็ด
1. นิยมปลูกเป็นไม้ประดับให้ร่มเงา เนื่องจากมีทรงพุ่มหนา กว้าง ดอกออกเป็นช่อขนาดใหญ่ มีสีม่วงหรือขาว เมื่อดอกบานจะเป็นช่อใหญ่สวยงาม พบเห็นได้ตามสวนสาธารณะหรือข้างถนนหนทาง
2. เนื้อไม้มีสีน้ำตาลอมเทา แข็งแรง ไม่มีเสี้ยน แผ่นไม้ไม่แตกเป็นร่อง นิยมแปรรูปเป็นไม้ก่อสร้างต่าง ๆ อาทิ แผ่นไม้ปูพื้น ไม้ฝ้า ไม้วงกบ รวมถึงแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์ และเครื่องใช้ในครัวเรือน อาทิ โต๊ะ เตียง กล่องไม้ ด้ามมีด ด้ามปืน เป็นต้น
3. ท่อนไม้ตะแบกใช้เผาถ่าน ให้ก้อนถ่านแข็ง ถ่านให้ความร้อนสูง รวมถึงกิ่งก้านใช้เป็นเชื้อเพลิงได้เป็นอย่างดี
4. ขอนดอก เป็นชื่อเรียกแก่นไม้ตะแบกที่มีลักษณะผุผัง มีสีน้ำตาลอมดำ ประขาว มีโพรงอากาศ มีกลิ่นหอม คล้ายกับแก่นกฤษณา เกิดเฉพาะต้นตะแบกที่มีอายุมาก เนื่องจากมีราบางชนิดเข้าไปเติบโตในแก่น แก่นบริเวณนี้ นิยมใช้ทำเป็นยาหรือใช้สกัดน้ำหอม
5. เปลือกตน ใหสีน้ําตาลออนสําหรับยอมผา
1. เปลือกต้นครึ่งกำมือสับให้เป็นชิ้นเล็กๆ ต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือค่อนแก้วดื่มเฉพาะน้ำ ใช้ปรุงเป็นยาแก้บิด ลงแดง และมูกเลือด
2. รากเป็นยาแก้ปวดกล้ามเนื้อ