คำอธิบายของพรรณไม้

 พรรณไม้ : อบเชย

   ชื่อสามัญ

Cinnamon

   ชื่อวิทยาศาสตร์

Cinnamomum iners Reinw. ex Blume

   ชื่อวงศ์

LAURACEAE

   ชื่ออื่น ๆ

กระแจะโมง กระดังงา กะเชียด กะทังนั้น กะพังหัน โกเล่ เนอม้า บอกคอก ฝักดาบ พญาปราบ มหาปราบตัวผู้ อบเชยต้น

   ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15 – 20 ม. ทรงพุ่มกลม หรือรูปเจดีย์ต่ำ ๆ ทึบ เปลือกสีน้ำตาลอมเทา ค่อนข้างเรียบ เกลี้ยง เปลือกมีกลิ่นหอมอบเชย (cinnamon)
ใบ ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม หรือเยื้องกันเล็กน้อย รูปขอบขนาน กว้าง 2.5 – 7.5 เซนติเมตร ยาว 7.5 – 25 เซนติเมตร เนื้อใบหนา เกลี้ยง แข็ง และกรอบ มีเส้นใบออกจากโคนใบ 3 เส้นยาวตลอดจนถึงปลายใบ ด้านล่างเป็นคราบขาว ๆ ก้านใบยาว 0.5 เซนติเมตรใบมีกลิ่นหอมอบเชย (cinnamon)
ดอก ดอกมีขนาดเล็ก สีเหลืองอ่อน หรือเขียวอ่อน ออกเป็นช่อแบบกระจายที่ปลายกิ่ง ยาว 10 – 25 เซนติเมตร ดอกมีกลิ่นเหม็น
ผล ผลมีขนาดเล็ก รูปขอบขนาน ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร แข็ง ตามผิวมีคราบขาว ๆ แต่ละผลมีเมล็ดเดียว ฐานรองรับผลเป็นรูปถ้วย

   ถิ่นกำเนิด

ประเทศศรีลังกา

   การขยายพันธ์

เพาะเมล็ด

   การนำไปใช้ประโยชน์

1. นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ 2. เนื้อไม้สามารถใช้ประโยชน์ได้ 3. เปลือกชั้นในใช้เป็นเครื่องเทศ ให้กลิ่นหอม

   สรรพคุณ

1. เปลือกต้นตากให้แห้งแล้วนำไปเคี้ยวกินกับหมาก ตำให้เป็นผงมีกลิ่นหอมนำไปทำธูปได้ 2. เปลือกต้นใช้แทน cinnamon เคี้ยวกินเป็นยาแก้ปวดท้อง บำรุงดวงจิต แก้อ่อนเพลีย ทำให้มีกำลัง ขับผายลม 3. เปลือกต้ม หรือทำเป็นผง แก้โรคหนองในและแก้โทษน้ำคาวปลา ยาชงจากเปลือกต้น ใช้เป็นยาถ่าย 4. รากต้มกับน้ำดื่ม แก้อาการปวดหลัง ปวดเอว ให้สตรีกินหลังคลอดบุตร และลดไข้หลังการผ่าตัด 5. ใบเป็นสมุนไพรหอม ปรุงเป็นยาหอม แก้ลมวิงเวียนและจุกเสียดแน่นและลงท้อง เป็นยาบำรุงกำลัง และบำรุงธาตุ ตำเป็นยาพอกแก้ปวด rheumatism ุ6. รากกับใบต้มน้ำดื่ม แก้ไข้เนื่องจากความอักเสบของสตรีที่คลอดบุตรใหม่ๆ 7. น้ำยางจากใบใช้ทาแผลถอนพิษ 8. เมล็ด ทุบให้แตกแล้วผสมกับน้ำผึ้ง ให้เด็กกินแก้บิดและแก้ไอ