คำอธิบายของพรรณไม้

 พรรณไม้ : ขนุน

   ชื่อสามัญ

Jackfruit Tree

   ชื่อวิทยาศาสตร์

Artocarpus heterophyllus Lam.

   ชื่อวงศ์

MORACEAE

   ชื่ออื่น ๆ

มะหนุน หมักหมี๊ หมากลาง

   ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 15 - 30 เมตร ลำต้นและกิ่งเมื่อมีบาดแผลจะมีน้ำยางสีขาวข้นคล้ายน้ำนมไหล
ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปรี ขนาดกว้าง 5-8 เซนติเมตร ยาว 10 - 15 เซนติเมตร ปลายใบทู่ ถึงแหลม โคนใบมน ผิวในด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน เนื้อใบหนาผิวใบด้านล่างจะสากมือ
ดอก เป็นช่อแบบช่อเชิงสดแยกเพศอยู่รวมกัน ดอกเพศผู้เรียกว่า "ส่า" มักออกตามปลายกิ่ง ดอกเพศเมียจะออกตามกิ่งใหญ่และตามลำต้นยอดเกสรเพศเมีย เป็นหนามแหลม ส่วนของเนื้อที่รับประทานเจริญมาจากกลีบดอก ส่วนซังคือกลีบเลี้ยง จะออกปีละ 2 ครั้ง คือ ช่วงเดือนธันวาคม - มกราคม และเมษายน - พฤษภาคม
ผล ผลรวมมีขนาดใหญ่ ส่วนของเนื้อที่รับประทานเจริญมาจากกลีบดอก ส่วนซังคือกลีบเลี้ยง

   ถิ่นกำเนิด

มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศอินเดีย

   การขยายพันธ์

เพาะเมล็ด ติดตา และทาบกิ่ง

   การนำไปใช้ประโยชน์

1. ผลอ่อนใช้ปรุงอาหารผลสุกเยื่อหุ้มเมล็ดมีรสหวาน เมล็ดปรุงอาหาร 2. เนื้อไม้ใช้ทำพื้นเรือนและสิ่งก่อสร้าง ครก สากกระเดื่อง หวี โทน รำมะนา ระนาด 3. รากและแก่นให้สีเหลือง ถึงเหลืองอมน้ำตาล ใช้ย้อมผ้าและแพรไหม

   สรรพคุณ

1. รากนำมาปรุงเป็นยาแก้ท้องร่วง แก้ไข้ 2. ใบเผาไฟกับซังข้าวโพดให้ดำเป็นถ่าน แล้วใส่รวมกับก้นกะลามะพร้าวขูด โรยรักษาบาดแผล


แผนที่แสดงพิกัดของขนุนภายในมหาวิทยาลัยจำนวน 1 ต้น