คำอธิบายของพรรณไม้

 พรรณไม้ : ชมพู่

   ชื่อสามัญ

Rose Apple

   ชื่อวิทยาศาสตร์

Eugenia javanica Lamk.

   ชื่อวงศ์

MYRTACEAE

   ชื่ออื่น ๆ


   ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นมีความสูงประมาณ 5-20 เมตร เปลือกลำต้นเรียบหรือขรุขระ มีสีน้ำตาลหรือเทา มักแตกกิ่งก้านสาขาบริเวณใกล้กับโคนต้น
ใบ ใบชมพู่ออกเป็นใบเดี่ยว เรียงตัวแบบตรงกันข้าม ใบหนาผิวด้านหลังใบเป็นมันสีเขียวเข้ม และมักเจือด้วยสีแดงหรือม่วง ใบค่อนข้างใหญ่เรียวยาวเป็นมัน
ดอก ดอกชมพู่เป็นช่อตามชอกใบ สีดอกแตกต่างกันไปตามพันธุ์อาจจะเป็นสีขาว เหลือง ชมพูหรือแดง ชั้นกลีบเลี้ยงมีจานวน 4-5 กลีบ และอยู่ติดกันเป็นรูปถ้วย ชั้นกลีบดอกมีจานวน 4-5 กลีบ เมื่อดอกบานชั้นกลีบดอกจะหลุดร่วงเป็นแผงคล้ายหมวก เกสรตัวผู้มีจำนวนมากมาย และอับเกสรสีทองอยู่ที่ปลายดอกการออกดอกในประเทศไทยพอจัดได้รุ่นใหญ่ 2 รุ่น รุ่นแรกเริ่มประมาณตุลาคม-พฤศจิกายน รุ่นที่สองเริ่มประมาณกุมภาพันธ์-มีนาคม
ผล ผลชมพู่มีลักษณะคล้ายระฆัง ที่ปลายผลมีชั้นของกลีบเลี้ยงรูปถ้วยติดอยู่ตลอด เนื้อ สี รูปร่าง ขนาด และรสชาติแตกต่างกันตามพันธุ์ ส่วนเมล็ด มีตั้งแต่ 1-5 เมล็ด หรืออาจไม่มีเมล็ดแล้วแต่พันธุ์ชมพู่

   ถิ่นกำเนิด

แถบประเทศอินโดนีเซีย อินเดีย

   การขยายพันธ์

ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำ การตอนกิ่ง การเพาะเมล็ด การทาบกิ่ง

   การนำไปใช้ประโยชน์

นิยมปลูกเป็นการค้า ได้แก่ ทูลเกล้า เพชรน้ำผึ้ง เพชรสามพราน และ พันธุ์ทับทิมจันทร์ มีคุณสมบัติโดดเด่นในด้านทรงผลและสีผลสวย ผลโต ความแน่นเนื้อสูง รสชาติหวานกรอบ คุณภาพผลดี เป็นที่ต้องการของตลาด สามารถส่งเสริมเป็นสินค้าส่งออกและให้ผลตอบแทนค่อนข้างสูง

   สรรพคุณ

ชมพู่มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง ทำให้เกิดความสดชื่น โดยการเอาเนื้อชมพู่แห้งมาบด หรือรับประทานสดก็ได้ จะเกิดความสดชื่นขึ้นมาทันที สามารถนำมาบำรุงหัวใจได้


แผนที่แสดงพิกัดของชมพู่ภายในมหาวิทยาลัยจำนวน 5 ต้น