คำอธิบายของพรรณไม้
พรรณไม้ : หมุย, หัสคุณ
Lime Berry
Micromelum minutum Wight & Arn.
RUTACEAE
ลำต้น เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กถึงกลาง สูงประมาณ 2-3 เมตร ลำต้นขนาดเล็ก ผิวต้นสีน้ำตาลอมเขียวเล็กน้อย แตกพุ่มออกยอดใบ กิ่งอ่อนมีขนสั้นสีเทา ส่วนต้นเป็นสีเขียว เมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอมเทา แตกเป็นร่องตื้นตามยาวม้ต้นขนาดกลาง สูงได้ถึง 15 ม. ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่ ปลายแหลม โคนป้าน หูใบระหว่างก้านใบเป็นแผ่นคล้ายใบ ช่อดอกแบบช่อกระจุกแน่น ออกตามปลายกิ่ง มี 1-3 ช่อ ช่อกลางสั้นมาก แต่ละช่อประกอบด้วยดอกสีเหลือง กลีบเลี้ยงเป็นหลอดสั้น ปลายมี 5 แฉก กลีบดอกเป็นหลอดยาว ปลายแยกเป็น 5 หยัก เกสรเพศผู้ 5 อัน รังไข่อยู่ใต้วงกลีบ ผลเล็ก มีสันตามยาว 10 สัน เมล็ดมีปีก ในประเทศไทยมีหลายพันธุ์ แต่ละพันธุ์แตกต่างกันที่ลักษณะของใบ กล่าวคือ พันธุ์ก้านแดงมีก้านและเส้นใบสีแดง พันธุ์แตงกวามีเส้นใบสีเขียวอ่อนกว่าแผ่นใบ พันธุ์ยักษ์ใหญ่มีใบขนาดใหญ่กว่าพันธุ์อื่นและส่วนบนของขอบใบเป็นหยัก พันธุ์ที่นิยมบริโภคกันมากคือ พันธุ์ก้านแดง
ใบ ใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ มีใบย่อยประมาณ 7-15 ใบ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลม ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-4 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-7 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียวอ่อน เนื้อใบบาง มีต่อมน้ำมันเล็กๆ จับดูแล้วจะรู้สึกเหนียว หลังใบเกือบเรียบถึงมีขนสั้นๆ ส่วนท้องใบมีขนบางๆ ใบมีกลิ่นหอมเหมือนการบูร มีรสหอมร้อน
ดอก ดอกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ขนาดเล็กประมาณ 1.5 เซนติเมตร สีเทาอ่อน มีดอกย่อยจำนวนมาก ดอกย่อยมีกลีบดอกเป็นสีเขียวอ่อนหรือสีขาวแกมเหลือง เมื่อดอกบานเต็มที่กลีบดอกจะม้วนไปด้านหลังเล็กน้อย
ผล เป็นผลสด ออกเป็นพวงโต ลักษณะของผลเป็นรูปกระสวยหรือรูปไข่ขนาดเล็ก ผิวผลเรียบใส ฉ่ำน้ำ ผลเป็นสีเขียวอ่อน มีขนปกคลุม เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีส้มหรือสีแดง
เพาะเมล็ด ปักชำและตอนกิ่ง
ยอดอ่อน รับประทานเป็นผักเหนาะกับน้ำพริก ขนมจีน และแกงต่างๆ
1. ใบ มีกลิ่นหอม รสเผ็ดร้อน แก้ลมเสียดแทง ช่วยขับลม ยอกในข้อ แก้หืด แก้ไอ แก้ไข้ นำมาตำใช้เป็นยาทาแก้คัน หรือนำมาพอกประคบหรืออบไอน้ำ แก้ผื่นคันตามผิวหนัง กระจายเลือดลมให้เดินสะดวก และช่วยแก้ลมอัมพฤกษ์ อัมพาต
2. ใบและเปลือก ใช้เป็นยารมรักษาริดสีดวงจมูก (เมื่อโดนละอองยาจะร้อนมากจนแสบจมูก)
3. ดอก มีกลิ่นหอม รสร้อน ใช้เป็นยาฆ่าเชื้อโรค รักษาแผลเรื้อรัง ช่วยแก้เสมหะให้ตก ขับเสมหะให้ลงสู่คูถทวาร
4. ผล มีสรรพคุณเป็นยาถ่าย
5. เปลือกต้น มีรสร้อน มีสรรพคุณช่วยแก้โลหิตในลำคอ และลำไส้ให้กระจาย
6. กระพี้ มีรสร้อน ใช้เป็นยาแก้โลหิตในลำไส้
7. ต้น มีรสร้อน ช่วยแก้ไอ แก้ลมภายในให้กระจาย เป็นยาขับพยาธิไส้เดือน
8. ราก มีรสร้อน เป็นยาแก้หอบหืด แก้ไข้ แก้ลม แก้ริดสีดวง ขับเลือดและหนอง ใช้พอกแผลริดสีดวงจมูก แผลคุดทะราด ตำรับยาพื้นบ้านล้านนาใช้รากผสมกับรากปลาไหลเผือก ฝนกับน้ำซาวข้าวกินเป็นยารักษานิ่วในไต รากมีสรรพคุณแก้พิษงูได้ โดยฝนรากหมุยผสมเหล้าขาว พอกแผลที่ถูกงูกัด ใช้ผสมกับสมุนไพรอื่นใช้แก้พิษจากโลหะ เช่น สังกะสี มีด ของมีคมบาด ตะปูตำ รากต้มน้ำดื่ม แก้โลหิตข้น นิ่วในไต ขับเลือดขับหนอง